泰语里的人称代词多到数不清,要想使用正确的人称代词需要考虑很多方面的因素,性别、年龄、社会地位等等因素都需要考虑。那大家知道หนู这个人称代词什么时候用吗?泰国人为什么又会用老鼠来自称呢?今天,我们就来好好认识一下这个有点奇怪的人称代词。

文章跟读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

คำสรรพนามในภาษาไทยมีมากมายสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ข้า เอ็ง เรา ฉัน ท่าน เธอ คุณ ผม กู มึง ฯลฯ แต่มีคำหนึ่งคือคำว่า “หนู” ที่ดูผิดแผกจากคำอื่น เพราะเหมือนเป็นการนำชื่อของสัตว์มาใช้เป็นคำสรรพนาม หรือสรรพนามคำว่า “หนู” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ “หนู” ที่เป็นสัตว์?
泰语里的人称代词数量众多,例如ข้า เอ็ง เรา ฉัน ท่าน เธอ คุณ ผม กู มึง等等,但是有一个词看起来和其他词都不一样,那就是หนู这个词,因为感觉这是一个用动物名称来用作 人称代词的用法,又或者หนู本身和动物的含义并没有关系呢?

คำว่า “หนู” ใช้ได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้เรียกแทนตนเอง หรือใช้เรียกคนที่อายุน้อยกว่า มีทั้งคำว่า เจ้าหนู, ตาหนู, ไอ้หนู, พ่อหนู, แม่หนู ฯลฯ เมื่อสืบหาต้นเค้าที่มาของคำนี้ พบในบทความ “จากอีหนูถึงอำแดง” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2541) อาจารย์สมบัติ (ส. พลายน้อย) เขียนอธิบายที่มาของคำว่า “หนู” เอาไว้ว่า
หนู这个词男性和女性都可以用来充当第一人称代词,或者用来称呼比自己年纪小的人,如เจ้าหนู, ตาหนู, ไอ้หนู, พ่อหนู, แม่หนู等等,当搜寻这个词的源头时,在Sombat老 师(Sor Plainoi)的《从Inu到Amdaeng》(文化艺术1998年12月版)一文中解释了หนู的来源:

“มีผู้สงสัยว่า คำนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สมัยไหน เท่าที่ทราบเป็นคำที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า คำ ‘หนู’ เป็นศัพท์ที่เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ‘อินู’ ไม่ควรจะนำมาใช้เรียกเด็กไทย ทำให้นึกสงสัยว่าถ้าเป็นตามนี้ คำที่เคยเรียกว่า ‘อีหนู’ จะมาจากคำ ‘อินู’ หรือย่างไร…”
“有人疑惑,这个词是在什么年代怎么产生的?据我所知这个词是拉玛四世时期开始使用的,但拉玛六世时下令称หนู一次来自汉语里的อินู,不应该用来指代泰国儿童,那么如果是这样 的话,曾经使用过的อีหนู是来自อินู还是怎样呢?”

พระราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 6 เกี่ยวกับที่มาของคำว่า “หนู” พบใน ประกาศ ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำนามเด็ก พ.ศ. 2464 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 38 หน้า 439-441 ความตอนหนึ่งระบุว่า “ทรงพระราชดำริห์ว่า คำว่า ‘หนู’ เปนศัพท์ที่เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ‘อินู’ ไม่สมควรใช้สำหรับเปนคำนามเด็กที่เป็นเชื้อชาติสยามแท้ จึงได้ทรงยกเลิกเสีย ให้คงใช้คำว่า ‘เด็ก’ ซึ่งเป็นคำไทยแท้นั้นแต่คำเดียว…”
拉玛六世หนู的来源相关资料在皇家公报第38本439-441页中关于“1921年取消儿童称呼词皇家法令”中有一段提到:“国王下令,หนู是中文词汇อินู的音变,不应该用来指 代纯暹罗血统的儿童,所以应该取消使用,只保留泰语词汇เด็ก一词…”

หากยึดตามพระราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 6 ว่าคำสรรพนาม “หนู” มาจากภาษาจีนจริง แล้วจะเป็นคำใด? ผู้เขียนพยายามหาต้นเค้าของคำว่า “อินู” แต่ไม่พบ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามจากผู้สันทัดภาษาจีน ก็เจอภาษาจีนคำหนึ่ง คือคำว่า 奴 nú (หนู) ที่แปลว่า ทาส และนี่อาจเป็นต้นเค้าของคำสรรพนาม “หนู” !!!
如果根据拉玛六世时期的御昭,หนู这个人称代词的确来自中文,那又会是那个词呢?我努力寻找อินู这个词的来源但是没有找到。无论如何,当询问精通中文的人时,就发现了 奴这个词,翻译成奴隶,这个词可能就是หนู这个人称代词的原型。

เปิดพจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ให้ความหมายของคำว่า 奴 nú ไว้ว่า 1. ทาส, ชาวนาทาส, เลก 2. เป็นคำที่หญิงสาวใช้เรียกตนเอง (ส่วนมากจะปรากฏในหนังสือไป่หว้าในสมัยก่อน) 3. ใช้เป็นทาส, กดขี่เป็นทาส
翻开 杨汉川版的汉泰词典,发现了奴一词的释义:1.奴隶,农奴;2.女性自称的词汇(出现在古书当中);3.用作奴隶,压迫使其成为奴隶。

ในพจนานุกรมยังมีคำในหมวด 奴 nú อีกหลายคำ เช่นคำว่า 奴才 nú cái ที่แปลว่า 1. ทาสในบ้าน 2. ข้าผู้เป็นทาส และขยายความเพิ่มเติมว่าเป็นคำที่ขุนนางใช้เรียกตนเองเมื่อกล่าวกับจักรรพรรดิในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง หรือคำที่ทาสในบ้านของชาวแมนจูในสมัยราชวงศ์ชิงใช้เรียกตนเองเมื่อกล่าวกับผู้เป็นนาย
字典中还有很 多个和奴相关的词,如奴才,意思是1.家中的奴隶;2.作为奴隶的我,在明清时期与皇帝交谈时的自称,或者清朝时期满族人家中奴才的自称。

เมื่อลองเปิดดูซีรีส์ย้อนยุคของจีน ก็จะพบคำว่า 奴婢 nú bì ซึ่งก็เป็นคำที่ผู้น้อยใช้เรียกตนเองเมื่อสนทนากับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่า เพื่อแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
当观看中 国古装剧时,可以看到奴婢一词,是处在较低社会地位的人与较高社会地位的人交谈时表现谦虚谦卑的自我称呼词语。

น่าสังเกตว่าคำว่า 奴 nú มีอักษร 女 nǚ หนวฺี่ ที่แปลว่า เพศหญิง, ผู้หญิง รวมอยู่ด้วย
值得 注意的是奴这个词有女字旁,意思是女性。

ในที่นี้ขอติดคำว่า 孥 nú จากพจนานุกรมฉบับดังกล่าวไว้อีกคำหนึ่ง ที่แปลว่า ลูก, ลูกสาว, ลูกชาย ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า 奴 nú ที่แปลว่า ทาส รวมกับคำว่า 子 zi ที่แปลว่า เด็ก
这里 再介绍另一个字,孥,意思是孩子,女儿,儿子,这个词来自翻译成奴隶的奴和翻译成孩子的子共同构成。

ดังนั้น คำสรรพนาม “หนู” จึงอาจจะมีต้นเค้ามาจากคำในภาษาจีน แต่จะเป็นคำใดระหว่าง 奴 หรือ 孥 ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะทั้งสองต่างออกเสียง nú (หนู) เช่นเดียวกัน และก็มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองคำจะเป็นต้นเค้าของคำสรรพนาม “หนู”
因此,หนู 这个人称代词可能真的是源于中文,但是到底是“奴”还是“ 孥”就无从查证了因为这两个词都读作nú,都有可能是หนู一词的源头。

ผู้เขียนจึงอนุมานได้เป็น 2 แนวทาง คือ 1. อาจเป็นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 (หรือเก่ากว่านั้น) คนจีนในสยามเรียกลูกเล็กเด็กแดงว่า 孥 nú (“อีหนู ๆ”) คนไทยก็พลอยใช้คำนี้ตาม 2. คนจีนในสมัยนั้นใช้คำว่า 奴, 奴才 หรือ 奴才 (หรือคำในหมวด 奴 nú (หนู) อื่น ๆ) เรียกแทนตนเองเพื่อแสดงความอ่อนน้อม เมื่อสนทนากับคนไทยหรือคนจีนด้วยกันเอง ในฐานะที่ตนเป็นคนต่ำศักดิ์กว่า คนไทย (ซึ่งอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน) ก็พลอยใช้คำนี้ตาม
我于是预测出两种理解,1.可能是拉玛三-四世(可能早于此),华人称自己的孩子为“孥”,泰国人也就跟着使用这个词;2.当时的华人使用奴, 奴才这类的词汇 来自称,当和泰国人或者华人交谈时表达谦虚之意(可能产生了误解),泰国人也就跟着使用了这个词。

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นของผู้เขียนจากข้อมูลเท่าที่สืบค้นได้เท่านั้น หากท่านผู้อ่านเชื่อว่า สรรพนาม “หนู” มีต้นเค้ามาจากคำในภาษาจีนจริง ดังพระราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 6 (ตามที่อาจารย์สมบัติยกมา) โปรดช่วยชี้แนะ เพราะผู้เขียนไม่สันทันด้านภาษาเท่าใดนัก หรือแท้จริงแล้ว คำว่า “หนู” ก็อาจเป็นคำไทยทั่วไป หาใช่คำจีนไม่ ก็เหมือนการนำชื่อของสัตว์มาใช้เป็นคำสรรพนาม เช่นคำว่า “หมู” “หมา”
上述所有的内容都只是作者本人搜集到的材料,如果其他人认为หนู确实是像拉玛六世御昭中提到的来自中文,请做指明,因为作者本身并不精通任何外语。又或是这个词根本就是完完全全的泰语词汇,并不是来自中文,就仅仅是用动物来称呼自身而已,像“หมู” “หมา”一样。

 

不知道大家认不认同作者的观点呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。