相信大家肯定看到过很多泰国男明星的出家仪式,在剃度的时候眉毛也会被刮得干干净净,为什么出家还要刮眉毛呢?为什么泰国僧侣总是没有眉毛呢?这是什么特别的规定吗?今天我们就来为大家解释这个奇怪的现象。

เมื่อไม่นานนี้มีกระแส “เอาคิ้วเราคืนมา” ในหมู่พระสงฆ์ไทยบางส่วน ทำให้เกิดการถกเถียงกันในวงกว้างว่า พระสงฆ์โกนคิ้วกันตั้งแต่เมื่อไหร่ พระสงฆ์ปัจจุบันควรโกนคิ้ว (ต่อไป) หรือไม่ เพราะการโกนคิ้วไม่มีปรากฏในพระธรรมวินัย
不久之前,在一些泰国僧侣中发起了“把我们的眉毛还回来”的活动,导致了更大范围的讨论,泰国的僧侣从什么时候开始剃眉毛的?现代的泰国僧侣应不应该剃眉毛?因为 剃眉毛并没有在对僧侣修行的规定中出现。

สาเหตุของการโกนคิ้วมี 2 กระแส หนึ่งคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โกนคิ้วเพื่อแยกพระสงฆ์ไทยกับพม่า ที่ปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าว สองคือ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ลักลอบเข้าไปพระพฤติมิงามกับนามสนมนางในในพระบรมมหาราชวัง รวมถึงป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ยักคิ้วหลิ่วตาให้ผู้หญิง
出现剃眉毛这种潮流有两个原因,一是在阿瑜陀耶时期,剃眉毛是为了区分泰国僧侣和缅甸僧侣,当时缅甸人假扮泰国僧侣来到阿瑜陀耶搜集消息,二是在曼谷王朝时 期,为了避免僧侣到宫中与嫔妃发生不好的行为,剃眉毛可以避免僧侣和女性挤眉弄眼。

ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “พระภิกษุข้ามถิ่นอัตลักษณ์ข้ามแดน : ศึกษาเปรียบเทียบพระภิกษุพม่าและพระภิกษุไทใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ศุภสิทธิ์ วนชยางค์กูล (วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549) ได้อธิบายถึงเรื่องพระสงฆ์ไทยกับการโกนคิ้วว่า
在Suphasit Vanachayangkul题为《缅甸僧侣和泰国北部掸族僧侣对比研究》(2006年朱拉隆功大学人文学硕士论文)的论文中解释了泰国僧侣剃眉毛的事情:

“เรื่องเล่าเกี่ยวกับการโกนคิ้วของพระภิกษุไทยนั้นถูกเล่าผ่านต่อกันมา มีอยู่สองเรื่องราวด้วยกัน ในเรื่องแรกนั้นได้กล่าวถึง การทำสงครามระหว่างพม่ากับไทยในสมัยอยุธยาแล้วนั้น ได้มีทหารพม่าแอบปลอมตัวเป็นพระภิกษุสงฆ์เพื่อที่จะมาหาข่าวในฝั่งของประเทศไทยเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำสงครามระหว่างประเทศไทย
“关于泰国僧侣剃眉毛的事情口口相传,一共有两个故事,第一个故事讲到了在阿瑜陀耶时期缅甸和泰国之间的战争,有缅甸的军人乔装成泰国僧侣来到泰国打探 情报,为了和泰国的战争做准备。

เมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีชาวพม่าที่ปลอมเป็นพระภิกษุเข้ามาหาข่าวจึงหากลวิธีที่ต้องการแยกระหว่างพระไทยและพระพม่า จึงมีการออกกฎให้พระภิกษุไทยต้องทำการโกนคิ้ว เมื่อมีพระภิกษุพม่าปลอมตัวมาก็จะสามารถแยกแยะและสามารถกุมจับตัวได้
当证实了有缅甸人混进了泰国僧侣,就必须寻找方法将他们区别出来,所以就规定泰国僧侣必须剃眉毛,再有缅甸僧人混进来就可以区分出来并且逮捕他们 

ส่วนในเรื่องเล่าที่สองนั้นเกิดขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นมีนางสนมอยู่เป็นจำนวนมาก และก็มีจำนวนมากที่ชอบพอกับบุรุษภายนอกวัง หรือมีบุรุษที่ต้องการเข้าไปหานางสนม ซึ่งการที่ผู้ชายเข้าไปในพระราชวังนั้น หากไม่ได้รับอนุญาตก็ถือว่า ผิดกฎในราชสำนักอย่างร้ายแรง
第二个故事发生在曼谷王朝初期,因为泰国的国王当时有非常多嫔妃,其中的很多人都喜欢和宫外的或者进宫的男士来往,但是宫外的男士如果没有得到允许就进宫, 是严重违反宫纪的。

ดังนั้น จึงมีผู้อาศัยผ้าเหลืองห่มเข้าไปเพื่อลอบเข้าไปหานางสนมของพระมหากษัตริย์ เพราะพระภิกษุสงฆ์สามารถเข้าวังได้โดยไม่มีกฎเคร่งครัดมากนัก เมื่อความรู้ถึงพระมหากษัตริย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุต้องโกนคิ้ว เพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่า ใครเป็นพระจริงหรือพระปลอม ถ้าไม่ใช่พระภิกษุแล้วทำไมถึงไม่มีคิ้ว”
因此,就有人假扮僧侣偷偷潜入宫中来找国王的嫔妃,因为僧侣可以轻松地进到宫中来,当国王知道后就下令让僧侣剃眉毛,这样就可以证明谁是真的僧侣谁是假 扮的,如果不是僧侣的话为什么没有眉毛呢?”

ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์นี้ก็ไม่ได้ระบุถึงที่มาของ “เรื่องเล่า” ดังกล่าว คงจะเป็นที่ถกเถียงและยังหาข้อยุติไม่ได้ แล้วการโกนคิ้วเกิดขึ้นในสมัยไหนกันแน่?
但是,这 部论文没有讲到上述故事的出处,可能还处在争论之中,无法下定论,那剃眉毛究竟发生在哪个时代呢?

เท่าที่ผู้เขียนจะสามารถสืบค้นหลักฐานได้ พบการโกนคิ้วระบุไว้ใน “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์” ที่ระบุว่า “พระภิกษุโกนหนวดเครา ผมบนศีรษะและขนคิ้วเกลี้ยง” ตรวจสอบกับฉบับแปลภาษาอังกฤษ ก็กล่าวไว้ตรงกันว่า “They shave all their Beard, Head, and Eyebrows”
经过作者的研究,发现了在《拉鲁贝儿事件记录》中有提到:“僧侣剃胡须、头发和眉毛。”因为的版本也是一样的:“They shave all their Beard, Head, and Eyebrows。”

ลา ลูแบร์ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แสดงว่า พระสงฆ์ในสมัยนี้โกนคิ้วกันแน่นอนแล้ว กระแสที่ว่า การโกนคิ้วเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงเป็นอันตกไป แล้วกระแสที่ว่า โกนคิ้วเพื่อแยกพระสงฆ์ไทยกับพม่า ที่ปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าวนั้น มีความเป็นไปได้มากเท่าไหร่?
拉鲁贝儿在纳莱王时期来到阿瑜陀耶城,说明在那个时期的僧侣肯定就已经剃眉毛了,所以僧侣在曼谷王朝刮眉毛的说法就不正确了。那么剃眉毛是为了区分泰国僧侣和前来打探消息的缅甸人又有多大的可能性呢?

จากการสืบค้นเท่าที่ผู้เขียนจะหาได้ ไม่พบการกล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด (หากผู้เขียนไม่อ่านข้ามไป) ทั้งนี้ ผู้เขียนสันนิษฐานจาก “เรื่องเล่า” เรื่องนี้ มีความเป็นไปได้ว่า การโกนคิ้วเพื่อป้องกันพม่าปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าว อาจจะเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หรืออาจย้อนไปถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้
在能获取的 资料中,并没有提到这种说法。无论如何,作者猜测这种说法可能是,避免缅甸人乔装成僧侣来打探消息可能出现在纳黎萱时期或者也可能是玛哈·查克拉帕时期。

ผู้เขียนเชื่อว่า มีความเป็นไปได้น้อยมากที่การโกนคิ้วเกิดขึ้นเพราะเหตุผลนี้ อย่างไรเสีย หากพม่าประสงค์จะปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าว เขาก็เพียงแค่โกนคิ้วให้เหมือนกับพระสงฆ์กรุงศรีอยุธยา เท่านี้ก็สามารถเข้ามาสืบข่าวได้อยู่ดี
作者认为 ,由于这个原因剃眉毛的可能性比较小,如果缅甸人想要乔装成泰国僧侣来打探消息,那只需要像阿瑜陀耶的僧侣一样剃掉眉毛就可以了,就能继续打探消息了。

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนพบหลักฐาน 2 ชิ้น ที่ได้กล่าวถึง “การโกน” ของพระสงฆ์ไว้ คือหนึ่ง “จดหมายเหตุของโยส เซาเต็น” และสอง “พรรณาเรื่องอาณาจักรสยาม” ของ วัน วลิต
无论如何 ,作者找到两个证据讲到了僧侣剃眉毛,分别是《约斯特·斯豪滕记录》和van Vliet的《暹罗王国纪实》:

“จดหมายเหตุของโยส เซาเต็น” คือบันทึกของ โยส เซาเต็น (Joost Schouten) ผู้จัดการบริษัทการค้าฮอลันดา ซึ่งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บันทึกชิ้นนี้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2179 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
《约斯特· 斯豪滕记录》是约斯特·斯豪滕,荷兰东印度公司管理者,在颂昙王和巴沙通王时期来到阿瑜陀耶,在佛历2179年巴沙通王时期记录下来的内容。

โยส เซาเต็น กล่าวถึงพระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยาว่า “สงฆ์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระเถระ เจ้าอาวาสมหาวิหารในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำหน้าที่พระสังฆราชวงฆ์ทุกองค์ (โดยเฉพาะในกรุงศรีอยุธยามีจำนวนกว่า 30,000 รูป) ห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าฝ้ายสีเหลืองและต้องโกนศีรษะ สงฆ์ที่คงแก่เรียนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าอาวาส และได้รับการเคารพนับถือจากประชาชน”
约斯特·斯豪滕记 录到了阿瑜陀耶时期的僧侣:“所有的僧侣都在阿瑜陀耶城僧王的管理之下(尤其是阿瑜陀耶城的僧侣超过3万人),用黄色的布包裹身体,剃头发,善于学习的僧侣被选为主持,受到民众的尊敬。”

ส่วน “พรรณาเรื่องอาณาจักรสยาม” ของ วัน วลิต (Jeremias van Vliet) ซึ่งเขาเข้ามารับงานต่อจากโยส เซาเต็น กล่าวถึงพระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยาว่า
在约斯特·斯 豪滕之后来到泰国的Jeremias van Vliet的《暹罗王国纪实》也讲到了阿瑜陀耶城的僧侣:

“พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนนุ่งห่มด้วยผ้าลินินสีเหลืองเนื้อเลว พระสงฆ์สำคัญ ๆ จำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่มีผ้าสีแดงพาดที่บ่าข้างขวา พระสงฆ์โกนศีรษะเกลี้ยง พวกผู้คงแก่เรียนที่สุดได้กลายมาเป็นพระสงฆ์ และเจ้าอาวาสของวัดทั้งหลายถูกเลือกมาจากพระสงฆ์เหล่านี้ เจ้าอาวาสได้รับการเคารพจากประชาชน”
“所有的僧侣有要求身穿劣质黄色亚麻布,只有少数重要的僧侣才会在右肩披红色的布,僧侣剃发,擅长学习的成为僧侣,寺庙的住持从这些僧侣中选出,受 到民众的尊重。”

หลักฐานทั้งสองชิ้นอธิบายว่า พระสงฆ์ต้องโกนผม แต่ไม่ได้กล่าวถึงการโกนคิ้ว เป็นไปได้หรือไม่ ที่ทั้ง โยส เซาเต็น และวัน วลิต อาจจะกล่าวข้ามเกี่ยวกับการโกนคิ้วไป? หรือเป็นไปได้หรือไม่ ที่พระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น (สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ยังไม่โกนคิ้ว?
这两个证据 表明,僧侣需要剃发,但是没有提到剃眉毛,有没有可能是这两个人都忽略了剃眉毛?或者是那个时期(颂昙王和巴沙通王时期)的僧侣还没有开始剃眉毛?

ข้อน่าสังเกตคือ ในปัจจุบัน พระสงฆ์ไทย ลาว และกัมพูชา ต่างก็โกนคิ้ว แล้วพระสงฆ์ลาวกับกัมพูชาโกนคิ้วเมื่อใด? หากรับอิทธิพลมาจากกรุงศรีอยุธยา แล้วมีเหตุผลอันใดที่ต้องรับเอาอิทธิพลนี้ไป ทั้งที่การโกนคิ้วไม่มีปรากฏในพระธรรมวินัย เป็นไปได้หรือไม่ที่สาเหตุการโกนคิ้วไม่ได้มาจากเรื่องการศึกสงคราม?
值得注意的是,现在的泰国、老挝和柬埔寨僧侣全部都要剃眉毛,那么老挝和柬埔寨的僧侣是何时开始剃眉毛的?如果是受阿瑜陀耶的影响,那又是为什么会受此影 响呢?既然剃眉毛不在僧侣的修行规则之中,那剃眉毛的习俗有没有可能不是来自战争的影响呢?

นอกจากนี้ พระสงฆ์ในศรีลังกาก็โกนคิ้วเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะรับอิทธิพลมาจากนิกาย “สยามวงศ์” ที่แพร่เข้ามาในยุคหลัง ซึ่งนั่นก็เป็นยุคหลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ล่วงไปนานแล้ว
除此之外,斯 里兰卡的僧侣也是要剃眉毛的,有可能是来自后期传入的暹罗派的影响,这个时期是在那莱王时期非常之后的了。

สรุป การโกนคิ้วมีกระทำกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อย่างแน่นอน แต่จะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเพื่อแยกพระสงฆ์ไทยกับพม่า ที่ปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าวหรือไม่นั้น คงต้องรบกวนท่านผู้รู้ผู้อ่านช่วยกันสืบค้นหลักฐานต่อไป เพราะยังมีหลักฐานอีกมากที่ผู้เขียนยังไม่ได้ค้น
总的来说,在那莱王时期的阿瑜陀耶城肯定已经有僧侣剃眉毛这种行为了,但是不是为了区分潜入阿瑜陀耶的缅甸人,还需要学者一起探索,因为还有很多作者没有考察到的证据。

 

有兴趣的小伙伴也可以去自己搜集资料看看,能不能找到最终的答案!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。