说到清迈,很多人都会想到那里的美食和美景,其实在历史上的兰纳王国曾经也是非常富庶的,但是接连受到外部势力的侵扰,可以说是命运多舛了。今天我们就带大家去了解一下兰纳这段不为人知的历史。



หนังสือ “ชื่อบ้านนามเมือง จังหวัดเชียงใหม่มาจากไหน” ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ สุจิตต์ วงษ์เทศผู้เขียนได้พาย้อนกลับไปดูรากเหง้าของเมืองเชียงใหม่ คนเชียงใหม่ ตังแต่เริ่มต้นบรรพชนล้านนาเมื่อห้าแสนปีที่แล้วที่พบกะโหลกมนุษย์ลำปาง ที่ปากถ้ำเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งร่วมสมัยกับมนุษย์ปักกิ่ง ไล่เรียงมาจนถึง พ.ศ. 2482
文化促进局 Sujit Wongthes 所写的著作《清迈府的地名都来自哪里》带我们回到了清迈城最开始的样子,清迈人的祖先可以追溯到50万年前的兰纳人,在南邦府 Koh Kha 洞穴内发现了南邦 人的头盖骨,这是和北京猿人同时存在的古人类,一直发展到了1939年。

ในที่นี้ขอนำเนื้อหาบางส่วนที่กล่าวถึงช่วงเวลา 200 ปี ที่พม่าเข้ามาปกครองเชียงใหม่ ซึ่งสุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ)
这里要讲的是缅甸占领清迈城 的200年时间,Sujit Wongthes 的讲述如下(编辑重新排版并突出重点):

นับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2000 เป็นต้นมา ลักษณะการค้าโลกขยายตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อพ่อค้าชาวยุโรปพากันเดินทางเข้ามาติดต่อกับบ้านเมืองแถบสุวรรณภูมินี้โดยตรง ทั้งบริเวณหมู่เกาะและผืนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ปริมาณการค้ามีมากขึ้นทั้งการค้าภายในกันเองและการค้าภายนอกกับยุโรป
从大约1457年开始,世界 贸易获得了前所未有的发展,来自欧洲的商人们纷纷踏上了黄金大地,和这片土地上的人发生了直接的联系,既包括海岛地区,也包括半岛地区,这让内部贸易与外贸都取得了很大的发展。



เมื่อการค้าทางทะเลสร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้กับบ้านเมืองและรัฐที่มีอำนาจเหนือเมืองท่าชายทะเล ย่อมกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างบ้านเมืองและรัฐ เพื่อควบคุมเส้นทางการค้าและรวบรวมทรัพยากรเพื่อการค้านั้น ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้เองทำให้พม่ายกกำลังเข้ายึดครองล้านนาประเทศ เมื่อราว พ.ศ. 2101 สืบหลังต่อมาอีกนาน
当海洋贸易为国家和控 制着海边港口的政府带来了巨大的财富之后,为了控制商贸路线和聚集贸易财产,各个国家一定会产生政治上的分歧。正是因为如此,缅甸在1558年占领了兰纳,并控制了很长一段时间。


ระหว่างที่ล้านนาอยู่ในอำนาจปกครองของพม่านานมากกว่า 200 ปี มีบางช่วงตกอยู่ในอำนาจอยุธยาในระยะสั้นๆ ตรงนี้ อาจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล อธิบายว่ามีบางครั้งที่อยุธยายกทัพขึ้นมาที่เชียงใหม่ได้ เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวร และสมัยพระนารายณ์ และเชียงใหม่เป็นอิสระอยู่เป็นระยะๆ เช่น พ.ศ. 2270-2306 เนื่องจากเป็นเวลาที่พม่าประสบปัญหาการเมืองภายใน เมื่อพม่าสามารถขจัดความยุ่งยากภายในได้เรียบร้อยก็จะกลับมาปราบล้านนา
在兰纳处于缅甸控制下的200年期间,某些很短的时间内又被阿瑜陀耶控制,这里Sarasawadee Ongsakul 老师解释到,有些时候阿瑜陀耶可以出兵北上到清迈,例如纳黎宣大帝时期和纳莱王时期。清迈也曾在某些时间段获得过自由,比如1727年-1763年之间,当时缅甸正面临着内部的政治问题,当缅甸解决了内部问题之后, 又重新回来占领了兰纳。

ล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง พ.ศ. 2101 จนถึง พ.ศ. 2317 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย และร่วมกันขับไล่พม่าออกไปสำเร็จ
兰纳在1558年-1774年莽应龙在位期间是缅甸的属城,在达信大帝在位时期,兰纳与暹罗交好,共同将缅甸赶出了兰纳。



นโยบายการปกครองของพม่าต่อล้านนา อาจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล แบ่งตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ได้ 2 สมัย
缅甸控制兰纳的政策 ,Sarasawadee 
Ongsakul老师根据历史的发展分成了两个阶段:

สมัยแรก ระหว่าง พ.ศ. 2101-2207 ประมาณร้อยปีแรก
第一阶段 1558年-1664年 大约是第一个100年


อำนาจรัฐพม่าในล้านนาไม่มีความสม่ำเสมอ เพราะพม่าไม่สามารถยึดครองล้านนาอย่างเข้มแข็งตลอดเวลา ดังพบว่าผู้นำท้องถิ่นได้ต่อต้านพม่าและแยกเป็นนครรัฐอิสระอยู่หลายแห่ง และในช่วงเวลานี้อยุธยาก็เข้ามามีบทบาทในเชียงใหม่ด้วย พม่าเองก็ยกทัพเข้ามาปราบปราม พร้อมกับปรับวิธีการปกครอง
兰纳内部的政权并不 平衡,因为缅甸不能自始至终强硬地控制着兰纳,兰纳当地就有很多反对缅甸统治的地方领袖,还分离出了多个独立的城邦,在该时间段阿瑜陀耶也时常影响着清迈城,使得缅甸必须出兵镇压,同时调整统治的方法。

อย่างไรก็ตาม ช่วงประมาณร้อยปีแรกนี้ ล้านนามีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของราชอาณาจักรพม่า จากสภาพที่ล้านนาเป็น “คนต่างชาติต่างภาษา” พม่าจึงกำหนดให้เป็นเขตที่มีการปกครองตนเองได้ในระดับหนึ่ง คือคงให้เจ้านายและขุนนางในล้านนามีส่วนร่วมในการปกครอง โดยอยู่ภายใต้การกำกับของกษัตริย์พม่า
无论如何,在第一个一百年期间,兰纳是缅甸王国的一个省份,但因为兰纳人是操着不同语言的外族人,缅甸就将其确立为一个享有一定自治权的地区,在缅甸国王的 任命下由当地的官僚贵族对兰纳进行统治。



สมัยที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2207-2317 ประมาณร้อยสิบปีหลัง
第二阶段 1664年 -1774年 大约是第二个100年


ฐานะของล้านนาเปลี่ยนไป โดยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของพม่าอย่างแท้จริง พม่าได้ส่งขุนนางจากราชสำนักมาปกครองโดยตรง ขุนนางท้องถิ่นมีบทบาทน้อย และพม่าจัดเก็บผลประโยชน์จากล้านนาเพิ่มขึ้นจากเดิม นอกจากนั้น ในช่วงนี้พม่าใช้วิธีแยกการปกครองเชียงแสนออกเป็นเขตสำคัญและใช้เป็นฐานที่มั่นจนกระทั่งพม่าหมดอำนาจในล้านนา อย่างไรก็ตาม การต่อต้านพม่าและจัดตั้งนครรัฐอิสระดำเนินการตลอดมา
兰纳的地位发生了改变,真正地成为了缅甸国土的一部分,由缅甸直接派出贵族进行统治,兰纳当地的官僚贵族作用变小,缅甸从兰纳获得的利益也比以前更多。除此之外,在这段时间,缅甸还将清盛独立出来统治,缅甸失去在兰纳的统治地位之前一直被当作军事基地。无论如何,兰纳人对缅甸的反抗和建立独立的城池一直 在进行当中。

ปัญหาการเมืองภายในพม่าทำให้พม่าต้องผ่อนปรนล้านนาเป็นระยะ ครั้นพม่าจัดการปัญหาเรียบร้อยแล้วก็เข้าปราบปรามล้านนา โดยเชียงใหม่ถูกพม่าตีแตกครั้งใหญ่ในต้นพุทธศตวรรษที่ 24 (พ.ศ. 2306) ซึ่งชาวเชียงใหม่ถูกกวาดต้อนไปจนหมดเมือง สะท้อนนโยบายของพม่าในช่วงหลังที่ต้องการทำลายเชียงใหม่อย่างแท้จริง
缅甸国内的政治问题导致缅甸阶段性地放松对兰纳的统治,当缅甸解决了国内问题之后就回来继续统治兰纳,清迈城在大约1763年的时候被大举攻破,清迈人都被赶出了城 ,反映了缅甸人后期要彻底破坏清迈城的政策。

ใน พ.ศ. 2317 ถือเป็นปีสำคัญยิ่ง เพราะเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ล้านนา ด้วยการตัดสินใจของพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละที่หันไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน กองทัพไทยและล้านนาร่วมกันทำสงครามกวาดล้างพม่าออกจากเชียงใหม่สำเร็จ แต่กว่าอำนาจพม่าจะหมดสิ้นในล้านนาอย่างแท้จริงต้องใช้เวลาอีก 30 ปี
1774年是重要的一年,因为这一年改变了兰纳的历史面貌,披耶·威迁帕甘和帕昭·甲威叻开始向暹罗的达信大帝表忠心,暹罗和兰纳的军队共同将缅甸军队赶出了清迈 城,但是缅甸军队的力量在30年后才彻底退出兰纳的舞台。



พม่ายกกลับมายึดคืนเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2319 พระเจ้าตากให้ยกไปตีพม่าที่เมืองเชียงใหม่อีก แต่คราวนี้เมื่อไล่พม่าและให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่จะได้ไม่มีศึกพม่าอีก มีพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายไว้ในหนังสือ ไทยรบพม่า ดังนี้
缅甸在1976年 又出兵占领了清迈,达信大帝再次出兵攻打清迈的缅甸军队,这次的目的是将缅甸军队彻底赶出清迈,丹龙·拉差努帕亲王在《暹罗与缅甸的战争》一书中记载到:


“ขณะนั้นพระยาจ่าบ้าน ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งให้เป็นพระยาวิเชียรปราการ ได้ครองเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่ไทยที่เมืองได้จากพม่า เห็นกองทัพพม่ายกมาเหลือกำลังที่จะต่อสู้ได้ พอมีใบบอกลงมายังกรุงธนฯ แล้ว พระยาวิเชียรปราการก็อพยพครอบครัวทิ้งเมืองเชียงใหม่หนีลงมาเมืองสวรรคโลก
“在战胜缅甸军队 之后,达信大帝为披耶·威迁帕甘授予爵位,披耶·威迁帕甘看到缅甸军队打来之后自己已经无力抵抗,给吞武里(达信)送出文书后,就丢弃清迈城举家南下迁移到了宋加洛城。

พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงทราบว่าพม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และพระยาวิเชียรปราการทิ้งเมืองหนีลงมาดังนั้น จึงโปรดให้รับพระยาวิเชียรปราการลงมายังกรุงธนบุรี แล้วให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ให้คุมกองทัพหัวเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกับพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน กองทัพไทยยกขึ้นไปพม่าสู้ไม่ได้ก็ทิ้งเมืองเชียงใหม่เลิกทัพกลับไป
达信大帝得知缅甸 再次出兵清迈,并且披耶·威迁帕甘已经弃城逃跑,于是下令让披耶·威迁帕甘来到吞武里,然后又命令玛哈·素拉辛哈那带领军队与南邦城城主帕昭·甲威叻汇合,共同去夺回清迈城,缅甸军队不敌便放弃清迈城逃跑。



เมื่อพม่าถอยไปจากเมืองเชียงใหม่แล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริว่าเมืองเชียงใหม่ไพร่บ้านพลเมืองระส่ำระสายเสียมากแล้ว จะรวบรวมกลับตั้งเป็นบ้านเมืองอย่างเดิมผู้คนก็ไม่พอจะเป็นกำลังรักษาเมืองได้ เมื่อกองทัพไทยกลับลงมาแล้วพม่ายกทัพกลับมาก็จะเสียเมืองเชียงใหม่อีก จึงมีรับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย
当缅甸军队离开 清迈城之后,达信大帝就下御昭,清迈城的人流离失所、损失惨重,重新聚集新建城池也不足以保卫家园了,当暹罗军队南下之时可能又会受到缅甸军队侵扰,所以下令丢弃清迈城。

เมืองเชียงใหม่จึงเป็นเมืองร้างแต่นั้นมากว่า 15 ปี จนในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์จึงได้กลับตั้งขึ้นอีก”
清迈城在此后15余年中成为了一座荒城,在曼谷王朝拉玛一世时期才再次建立了城池。”


大家一定没想到清迈还有这么一段历史吧!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,图片来自Lanna Architecture Center,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。