熟悉泰国的同学一定对易三仓大学不陌生,高质量的教学,西方教堂式的校园,非常有特色。那你知道易三仓这个名字是怎么来的吗?它又是什么意思呢?今天我们就来带大家好好认识一下这所泰国名校。

(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาจากพระราชหฤทัยที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ทัดเทียมอารยประเทศ ในช่วงเวลานั้นมีโรงเรียนที่เกิดจากการอุปถัมภ์หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือโรงเรียนที่ภายหลังพัฒนากลายมาเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญ
在曼谷王朝五世王 时期,泰国在很多方面都发生了巨大的变化,教育丛皇家专属发展到整个泰国大地,在那段时间,很多学校都在扶持下建立,其中的一所学校在后来就发展成了易三仓学校。

ในกลุ่มโรงเรียนที่ได้เริ่มมีมากขึ้นในรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งเป็นโรงเรียนที่อุปถัมภ์โดยกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวตะวันตก ทั้งนิกายโปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก สำหรับกลุ่มโรมันคาทอลิก ช่วงเวลานั้นมีชุมชนคาทอลิกกระจายอยู่ในสยาม 5 แห่ง หนึ่งในนั้นคือชุมชนคาทอลิกย่านบางรัก โดยมีวัดอัสสัมชัญ เป็นศูนย์กลาง
在拉玛五世时期 收到扶持的学校,其中一部分就是有西方新教和天主教传教士建立的,当时的天主教徒在暹罗共有五处聚居地,有一处就是以Bang Rak作为中心的天主教徒聚集地。

ในปี พ.ศ. 2420 บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Pere Emile Colombet) เจ้าอาวาสเริ่มแนวคิดให้การศึกษาเด็กผู้ชายทั่วไป จึงจัดการเรียนการสอนภายในที่ดินของวัด (ช่วงนั้นยังไม่ได้เรียกว่าวัดอัสสัมชัญ) โดยคนทั่วไปเรียกกันว่า “วัดสวนท่าน” ในช่วงแรกนักเรียนจะเป็นเด็กยากจนและเด็กกำพร้าในย่านบางรัก จำนวน 12 คนมาเริ่มรับการศึกษาทั้งภาษาไทยและฝรั่งเศส (ภายหลังเพิ่มภาษาอังกฤษด้วย) พร้อมกับการเผยแพร่ศาสนา ขั้นต้นโรงเรียนถูกเรียกว่า “โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสวัดสวนท่าน”
在1877年,Pere Emile Colombet神父开始了对平民男孩的教育,在教堂的土地上开展教学(当时还不叫做易三仓教堂),普通人都叫Wat Suan Than,刚开始来上学的学生都是Bang Rak地区贫困家庭的男孩或者孤儿,共12个人,学习泰语和法语(后来增加了英语),还有传教的内容,刚开始学校被叫做“Wat Suan Than泰法学校”。

เหตุผลเบื้องลึกของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) ศิษย์เก่าท่านเล่าในหนังสือชื่อ “ฟื้นความหลัง” โดยแสดงความคิดเห็นว่า
创立这所学校的深 层原因,曾经在那里读过书的Phraya Anuman Rajadhon在《回顾往事》一书中发表了见解:

“…ที่ท่านริเริ่มตั้งโรงเรียน ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่า จะเนื่องจากลูกกำพร้าที่มีผู้นำมามอบหมายไว้ให้ ท่านมีความสงสารก็รับไว้ เมื่อมีจำนวนเด็กลูกกำพร้าเพิ่มขึ้น ความคิดเรื่องตั้งโรงเรียนก็มีมาเอง นี่แสดงว่าพ่อคอลอมเบต์ เป็นผู้มีเมตตากรุณาแก่เด็กที่ตกทุกข์ได้ยาก…”
“…他之所以建立这所学校,我个人认 为,是因为有很多人给他送来了孤儿,他可怜这些人就收下了,当孤儿的数量增加后,创办学校的想法自然而然就有了,这说明Colombet神父对可怜的孩子们充满怜悯…”

สถานที่ซึ่งใช้สอนหนังสือในช่วงแรก ยุวดี ศิริ บรรยายในหนังสือ “ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” ว่า บาทหลวงกอลมเบย์ ใช้เรือนไม้ใต้ถุนสูงอันเป็นเรือนพักบาทหลวงในวัดกั้นเป็นห้องเรียน 4 ห้อง
刚开始上课的场所,Yuwadee Siri在《旧楼-旧学校》一书中提到,Colombet神父使用了教堂内4间在他自己宿舍高脚屋隔离出来的房间。

เมื่อบาทหลวงท่านเห็นว่า การสอนนักเรียนที่นับถือคาทอนิกคงไม่เพียงพอ และปรับไปเป็นเปิดรับนักเรียนทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาไม่จำกัดเฉพาะเพียงผู้นับถือคาทอลิก ในพ.ศ. 2428 บาทหลวงกอลมเบต์ ขึ้นทะเบียนจัดตั้งโรงเรียนกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ โดยใช้ชื่อว่า “อาซมซานกอเล็ศ” (Le College De L’Assomption)
当他认为,只教授信奉天主教的孩子可能不够,所以就扩展到了招收所有种族所有宗教的孩子,不限制一定要信仰天主教,在1885年,Colombet神父向教育部申请注册建立了名为 “Le College De L’Assomption”的学校。

ปีแรกที่จัดตั้งมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 33 คน แต่แล้วก็กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีต่อมา คือ 130 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ต้องสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้นในบริเวณวัดเพื่อรองรับนักเรียน แต่ก็มีปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ ต้องใช้วิธีเรี่ยไรหาทุนมาสร้างอาคารเรียนใหม่ รัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่องจึงพระราชทานเงินทุนเริ่มแรก 50 ชั่ง นอกจากนี้ ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ร่วมออกพระราชทรัพย์อุดหนุนสร้างอาคารอีกด้วย โดยรวมแล้วใช้ทุนทรัพย์ก่อสร้างรวม 50,000 บาท เป็นอาคารสูง 3 ชั้น วางตัวแนวยาวประมาณ 60 เมตร เริ่มใช้งานปี พ.ศ. 2433 ภายหลังก็ถูกเรียกกันว่า “ตึกเก่า” แต่เวลาต่อมาถูกรื้อถอนเพื่อสร้างอาคาร ฟ. ฮีแลร์ แทนที่
注册的第一年共有33个学生,在第二年就迅速上升到130个人,只有一直不断上升,后来Colombet神父不得不在教堂附近建立了第一所教学楼承接新学生,但是也面临着资金问题,不得不征集资金建教学楼,拉玛五世得知此事就先捐赠了4000泰铢,还有其他王室成员出资共同建教学楼,共筹集了50,000泰铢的资金,建立了一座 3层的教学楼,长约66米,在1890年开始使用,后来被叫做“旧楼”,后来被拆掉建了F. Hilaire大楼。

สำหรับคำว่า “อัสสัมชัญ” นั้น มีที่มาจากช่วงกระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เรียกชื่ออาคารสถานที่ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นคำไทยทั้งหมด และใน พ.ศ. 2453 โรงเรียนจึงมีจดหมายแจ้งไปถึงกรมศึกษาธิการ เนื้อหาชี้แจงเรื่องชื่อโรงเรียน “Assomption” นั้น มักถูกเรียกและเขียนผิดๆ กันตามถนัด
“易三仓”这个 词,来自当时教育部下令将所有以外语命名的建筑物全部改成泰语名称,,在1910年,学校发文至教育局,表明了“Assomption”这一校名经常被叫错或者写错:

“ด้วยเหตุนี้ ขอเจ้าคุณได้โปรดจดชื่อโรงเรียน “Assomption” กลับเปนคำไทยว่า “อาศรมชัญ” เทอญ ; บรรดาไทยทุกๆ ท่านผู้ชำนาญในรากภาษาแห่งตน คือภาษาบาลี คงมีความพอใจเอาอย่างทั้งนั้น แล้วจะเปนที่ตัดความรังเกียจ ที่เห็นติเตียนเปนเสียงแตกต่างกันเช่นดังกล่าวมาด้วย…”
“因为如此,请您将Assomption的校名更改为泰语词汇อาศรมชัญ,各位泰语方面的专家对自己语言的源头非常精通,那就是巴利语,可能会很满意,解除烦心的事, 对于上述指出的发音问题…”

อย่างไรก็ตาม พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ แนะนำว่า ควรเป็น “อัสสัมชัญ” เพราะออกเสียงคล้ายชื่อเดิม ความหมายก็คงรักษาไว้ได้ คำว่า “อัสสัมชัญ” ยังมีคำในภาษาบาลีว่า “อัสสโม” แผลงเป็นไทยว่า “อาศรม” หมายความว่า “กุฏิที่ถือศีลกินพรต” ส่วนคำว่า “ชัญ” แยกตามชาติศัพท์เดิม คือ ธาตุศัพท์ว่า “ช” แปลว่า “เกิด” และ “ญ” แปลว่า ญาน ความรู้ เมื่อรวมความก็ได้คำว่า “ชัญ” หมายถึง “ที่สำหรับเกิดญาณความรู้”
无论如何,教育局局长Phraya Wisuthisurayasak认为,应该是อัสสัมชัญ,因为和原来的名字更接近,含义保持原意,“อัสสัมชัญ”一次来自巴利语的อัสสโม,在泰语音 变为อาศรม,意思是“受戒的地方”,ชัญ一词和原词拆分开,ช的意思是“产生”,ญ是“知识”,组合在一起之久就是“产生知识的地方”。

ดังนั้น เมื่อรวม 2 คำเข้าด้วยกันก็จะได้คำว่า “อัสสัมชัญ” หมายถึง “ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้” คำนี้จึงกลายเป็นชื่อเรียกกันตั้งแต่นั้นมา
所以,当这两个词结合在一起成为“อัสสัมชัญ”的时候,意思是“抑制邪念、追寻知识的地方”,这个名字也一直被沿用。

 

原来大名鼎鼎的易三仓是这个意思!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。