最近大家应该都看到了,泰国的疫情越来越严重,确诊人数一天比一天高,难过想哭……疫情之下泰国大学的应届毕业生究竟该怎么选择未来的人生?相信很多小伙伴这两年也会面临找工作的问题,你们又是怎么想的呢?

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ คนทำงาน ในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะ “เด็กจบใหม่” จากที่เคยวาดฝันถึงอนาคตการทำงาน หรือ การไปเรียนต่อกลับพบความจริงที่ว่า ชีวิตที่พ้นรั้วมหาวิทยาลัยแล้วช่างยากกว่าที่คิด อีกทั้งเด็กจำนวนมากต้องแบกรับภาระการค้นหาตัวตน รวมไปถึงความคาดหวังจากครอบครัว สังคม ยิ่งกว่านั้น สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 กลายเป็นอุปสรรคที่คาดไม่ถึงทำให้แผนการสำหรับอนาคตที่วางไว้ รวมถึงจิตใจพังลงไม่เป็นท่า สิ่งเหล่านี้สร้างแรงกดดันอันมหาศาลให้กับชีวิตของเด็กจบใหม่
Covid19大爆发对世界各国的工作者都造成了一定冲击,特别是对于应届毕业生而言,他们或是曾经画下了未来工作的美好蓝图,又或是打算继续深造,回过头来却遇上了这样的现实:迈出大学围墙后的生活,现实远比想象中更难。另外,还有为数众多的学生必须担负起寻找自我的重任,外加对家庭和社会的期望。不止如此,covid19的爆发成为了意想不到的障碍, 使得人们对未来的设想和心灵世界倒塌得只剩一地碎片,这一系列事件给毕业生的生活带来了巨大的压力。




สิ่งที่เด็กจบใหม่ต้องเผชิญ
应届毕业生必须要面对的事


ปัญหาสุดคลาสสิกที่เด็กจบใหม่เจอคงหนีไม่พ้นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทำงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน การพบเจอสิ่งใหม่ๆ คนจากหลากหลายวัยที่มีทัศนคติแตกต่างกัน ทำให้เด็กจบใหม่ต้องเจอกับการปรับตัวครั้งใหญ่ในชีวิต
应届毕业生遇到的最基本的问题,不外乎是如何调整自我,来适应新的外界环境。不论是工作方法、工作单位的同事和领导,以及在工作中遇到的很多新事物。各个年龄段的人在思想上有区别,因而,应届毕业生在此时会面临人生中最大的一次自我调整。

“ไม่ว่าจะยุคไหน คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ก็มีปัญหาในการเข้าใจเด็กจบใหม่ ผู้ใหญ่บางคนชอบมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่มีความอดทน ทำงานนิดๆหน่อยๆ ก็ลาออก ไม่ได้เงินเดือนที่ต้องการก็ไม่ทำงาน เลือกงาน สุดท้ายก็ไม่ได้หางานอะไร” บัณฑิตจบใหม่จากคณะอักษรศาสตร์คนหนึ่งเริ่มต้นเล่าปัญหา ขณะที่บัณฑิตจากคณะเดียวกันอีกคนหนึ่งเล่าถึงแรงกดดันจากการเรียนจบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังว่า“แม้ผู้ใหญ่จะเข้าใจว่าเราเป็นเด็กจบใหม่ แต่ยังคงรู้สึกกดดัน เพราะเขาก็คาดหวังว่า เราจบจุฬาฯ มา เราต้องทำได้อย่างนี้สิ พอเราทำไม่ได้ เลยรู้สึกกดดันมาก”
文学院的一位毕业生向我们说:“不管是什么时期,泰国社会的大部分民众都对毕业生存在着一定程度上的不理解。有些长辈总是认为这个年代的孩子们缺乏耐性,会因为工作中一点小事辞职,没有得到合适的薪水就不干活,挑三拣四、眼高手低,最后得不到什么好的工作。”来自同一学院的另一位毕业生,也向我们讲述了从名牌大学毕业后面临的种种压力:“即使领导理解我们是应届毕业生,但我们依然感到非常有压力,因为他们总是认为,我们是朱拉隆功大学毕业的,所以说我们什么都会。当我们无法完成任务的时候就会压力倍增。”




จบมาทำอะไร?
毕业后能从事什么?

คำถามนี้กลายเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากสำหรับเด็กบางกลุ่ม เช่น เด็กอักษรศาสตร์ ที่มีหลักสูตรที่กว้างขวาง ครอบคลุมหลายสาขาวิชาจนสามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่มีสายงานที่ตรงตัวอย่างคณะอื่นๆ เช่น เรียนแพทยศาสตร์เพื่อเป็นหมอหรือเรียนครุศาสตร์และเป็นครูเมื่อเรียนจบ ทำให้หลายคนประสบปัญหาในการหางานเช่นกัน
这个问题对于一部分学生来说很难回答,例如文学院的学生,课程范围较广,涵盖了许多学科,可以从事很多类型的工作。而不像别人一样,专业有着非常对口的工作。例如学医,是为了毕业当医生,学师范是为了毕业后当老师。这使得许多人在找工作的时候都遇到了问题。

“ด้วยความที่อักษรฯ เรียนกว้างครอบจักรวาล และสายงานกว้าง ทำให้คนที่จบอักษรฯ ส่วนใหญ่ทำงานไม่ตรงสาย ไปเป็นนักแปล ล่าม ครู ซึ่งถ้าเราอยากได้อาชีพที่ให้เงินเดือนมากกว่านี้ เราก็รู้สึกว่างานแค่นี้มันยังไม่พอ เลยต้องออกไปหาทำอาชีพอื่น รู้สึกว่าอักษรประยุกต์ได้หมด แต่มีความเป็นเป็ดอยู่ในตัว พอทำได้ในแต่ละอย่าง แต่ถ้าจะให้ไปเก่งแบบแพทย์ วิศวะ ช่างกล เราทำไม่ได้ อันนี้เราว่ามันเป็นจุดเสียเปรียบที่ใหญ่ที่สุด ตอนแรกที่เข้าไปเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างทุกฝ่ายทุกส่วน พยายามเรียนรู้ให้เร็วที่สุดถึงแม้เราจะไม่ได้เรียนแบบเฉพาะทางตรงนั้น” บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์กล่าว
"由于文学专业的学习范围较广,可谓包罗万象,工作面也相对较宽,让大部分文学专业相关毕业生都找不到对口的工作,很多人去做翻译、教师。如果我们想拿到更高的月薪,我们就会感觉到从事这样的职业是远远不够的,因而必须出去找其他工作。就觉得吧,文学用途广泛,但有点四不像的意思,在每个方面都能做一点,但如果要像医生、工程师、机械师在某方面有所精通的话,是做不到的。我认为这是文学专业最大的弱点,刚入学的时候,我们必须要掌握各方面的知识,全速努力地学习,尽管没有自己的专长方向。”文学院毕业生这样说。



นอกจากนี้ ด้วยความที่ระบบการศึกษาไทย ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เด็กๆ ค้นหาตัวเอง แต่กลับสอนให้เด็กไปในทิศทางเดียวกันหมด ทำให้ปัญหาสุดคลาสสิกที่เด็กจบใหม่เกือบทุกคนจะต้องเจออีกอย่าง คือ “ไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือถนัดงานอะไร”“เราจบสาขาวิศวกรรมนาโน ถ้าตรงกับสายงานจริงๆ คือ การทำวิจัย เราเคยฝึกงานมาสองครั้ง เป็นวิจัยทั้งคู่ ครั้งแรกไม่เท่าไหร่ แต่ครั้งที่สองกลับเริ่มรู้สึกว่างานวิจัยไม่ใช่ทางของตัวเองแล้ว ส่วนตัวเรารู้สึกว่ามันช้า แพลนงานวิจัย ถึงจุดหนึ่งต้องมานั่ง execute งานทดลอง ซึ่งตอน execute มันช้ากว่าจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกว่างานวิจัยไม่เหมาะกับตัวเรา เพราะทำให้ความรู้เราแคบ รู้แค่เรื่องวิจัยที่เราทำอย่างเดียว เราเลยตัดสินใจทำงานไม่ตรงสาย ลองทำงาน บริษัทที่ปรึกษาส่วนหนึ่งมาจากการปรึกษารุ่นพี่เพราะมีรุ่นพี่หลายคนทำงานด้านนี้อยู่ และอยากลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ จากนั้นค่อยคิดว่าจะเอาอย่างไรต่อ” บัณฑิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าว
除此之外,在泰国的教育系统之下,不会很偏向让学生们探索自我,而是让学生们按照同样的方向来接受教育,这使得几乎所有的应届毕业生都会遇到一个最基本的问题,就是“不知道自己喜好或擅长什么”。“我是纳米工程学院毕业的,如果要选择真正对口的专业,就是从事科研。我也曾有过两次实习经历,都是做研究,第一次实习还没觉得有什么,可是在第二次实习中开始感觉到做科研不是自己该走的路,因为科研让我觉得很慢,做研究计划,到某一个点后就得坐下来做实验,在执行实验的时候,真的很慢,久久不得一份成果。同时,做研究使得我的知识面变窄,只知道所作的研究相关的东西,所以我觉得做研究不适合自己,选择转行,尝试进入咨询公司工作,这家公司一部分是由学校里的前辈组建的,因为很多学长、学姐都从事这方面的工作。同时我也想尝试一些未曾试过的工作,之后再慢慢考虑下一步的打算。”工程学院的毕业生向我们说道。

อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมไทย “ค่าตอบแทน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกทำงานของเด็กจบใหม่ แต่ในความเป็นจริงคือ ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกค่าตอบแทนที่ตรงใจได้ ทำให้ปัญหาเรื่องค่าตอบแทนเป็นสิ่งที่เด็กจบใหม่ต้องเผชิญอยู่ร่ำไป“เงินเดือนน้อย เมื่อเทียบกับค่าครองชีพของไทยที่สูงมาก ซึ่งเงินเดือนแค่ 300 บาทต่อวัน หรือ 15,000 บาท ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในประเทศนี้ เรารู้สึกว่ามันส่งผลกระทบต่อเด็กต่างจังหวัด เพราะต่างจังหวัดไม่ได้มีงานเยอะเหมือนกับกรุงเทพฯ แต่หากมาหางานที่กรุงเทพฯ แค่ค่าหอก็ 5,000 บาท แล้ว ขนาดยังไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ ที่เหลือต้องประหยัดอย่างมากถึงจะมีเงินเก็บ” บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์กล่าวถึงเงินเดือนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในเมืองหลวง
无论如何,对于泰国人来说“报酬”是应届毕业生选择工作所考虑的一个重要因素。但现实却是,不是每个人都能获得与内心预期相符的回报,“报酬”也因此成为了应届毕业生必须面对的问题。“和泰国高昂的生活成本相比,月薪的确太低,15000铢,也就是平均每天300铢的工资完全不够在这个国家生活。我认为这一问题对外府来的孩子造成了一定影响,因为外府的工作机会没有曼谷那么多。但如果来曼谷工作,仅仅是房租就要5000铢,这还不包括水电费,节余的月薪必须非常节约才能攒下点钱。”文学院毕业生生提到了与首都高昂生活开销相比少得可怜的月薪问题。



“เงินเดือนน้อยและไม่ยุติธรรมมากๆ เด็กจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ก็ต้องมี bar set มาตรฐาน เราอุตส่าห์เรียนอุตส่าห์ตั้งใจอ่านหนังสือสอบ กว่าจะสอบเข้าได้ กว่าจะเรียนจบ และเราก็รู้สึกว่ามันเป็นการขอเงินเดือนในสิ่งที่ทำได้ ถ้าสมมติเราเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย จะไปขอเงินเดือนสูงๆ ก็ไม่ได้ แต่นี่เราเรียนจบในมหาลัยท็อปๆ คือมันมีโอกาสที่จะขอได้ ก็เลยตั้งเอาไว้ ไม่ใช่ว่าแบบตั้งแล้วเป็นไปไม่ได้ก็ไม่ควรตั้ง” บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์อีกคนกล่าวถึงความไม่สมเหตุสมผลกับการเรียนจบมหาวิทยาลัยดัง พร้อมอธิบายถึงทัศนคติของนายจ้างที่ส่งผลกระทบต่อการประเมินรายได้“นายจ้างหลายคนมองว่าการเรียนภาษา ไวยากรณ์ เป็นเรี่องที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่จริงๆ แล้ว เราเรียนวัฒนธรรม การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ พูดอย่างไรให้คนเข้าใจ บางคนเก่งวิศวะ เก่งคอมพิวเตอร์ แต่อาจจะไม่ถนัดด้านการสื่อสารก็มี ไม่อยากให้มองว่าอักษรศาสตร์เทียบสายอื่นไม่ได้ เพียงเพราะเป็นสายที่กว้าง ไม่เฉพาะเจาะจง การมองแบบนี้ทำให้ลดค่าเราลงไป ซึ่งหมายความว่า เงินเดือนที่ลดตามลงไปด้วย”
“月薪少且社会严重不公,朱拉、法政的学子都会有一个bar set标准,我们勤奋学习、拼命用功读书好不容易才考入名校。在毕业阶段,我们会认为这是为自己争取月薪的一个因素,如果我们没有大学毕业文凭,想要得到很高的月薪,那是不可能的。但我们是名校毕业,所以有机会为自己争取。因此就为自己定下了这一薪金标准,而不是设一个自己根本配不上、够不着的目标。”另一位文学院学生提到了名校毕业生所面对的不合理情况,还为我们解释了雇主的态度对收入评估的影响,“很多雇主认为学习语言、语法是谁都能做得到的,但实际上,我们学的是文化,是高效地沟通,是如何表达才能使对方理解。有些人在工程学、计算机上很厉害,但他们有的人或许不擅长交流。我不想让别人觉得文学比不上其他专业,只是因为它是一个广义学科,针对性不强,这样的看法会折损了我们的价值,也就是说,月薪也会跟着降低。”


(图片来源:视觉中国)


ความสูญเสียจากวิกฤตโควิด-19
Covid-19危机造成的损失


โควิด-19 ถือเป็นวิกฤตร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อเด็กจบใหม่เป็นอย่างมาก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ที่ไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากต้องเรียนออนไลน์ ขาดประสบการณ์ด้านการฝึกงาน การทำงาน และอีกมากมาย รวมถึงต้องเผชิญกับปัญหาการหางาน เพราะเศรษฐกิจของประเทศหยุดชะงักจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 หลายบริษัทต้องปิดตัวลง หรือไม่สามารถรับเด็กจบใหม่เข้าทำงานเพิ่มได้
此次的Covid-19危机可以说对应届毕业生造成了非常强烈的冲击,除了严重影响了校园生活,让学生们不能全心全力地学习,而要上网课,缺少了实习和工作经验等等,还使他们面临着找工作上的严峻考验。因为在Covid-19危机中全国经济发展基本停滞,许多公司不得不倒闭,或是没有能力继续吸纳应届毕业生。

“เพราะสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยไม่ดีขึ้นสักที ชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัยช่วงสองปีสุดท้ายก่อนจบหายไปหมด ไม่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัย ไม่ได้เจอเพื่อน เรียนออนไลน์ทั้งเหนื่อยและลำบากมาก ตอนแรกรู้สึกกังวลเรื่องการหางาน แต่พอสถานการณ์โควิดรุนแรงขึ้นกลับต้องกังวลเรื่องโควิดมากกว่าค่ะ กังวลว่าคนในครอบครัวจะอยู่รอดไหม พ่อแม่ไปฉีดวัคซีนที่หน่วยงานจัดสรรไว้ให้จะปลอดภัยหรือเปล่า สถานการณ์โควิดในประเทศจะดีขึ้นหรือเปล่า ถ้าหากเรากลับบ้านจะติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ กลับไปแพร่ใส่คนที่บ้านไหม” บัณฑิตจบใหม่จากคณะอักษรศาสตร์กล่าว
“因为泰国Covid-19的情况没有丝毫好转,最后两年的大学生活几乎没什么体验感,没有在校学习,也没有见过同学朋友,上网课又累又麻烦。一开始非常担心找工作的事,但随着Covid-19愈演愈烈,现在的我反而更担心疫情,担忧家里人能不能挺过去,父母到指定机构接种疫苗后能不能安全无忧,国内疫情是否会好转,如果我回家的话会不会成为无症状感染者,传染给家人?”文学院应届毕业生说道。

ด้านบัณฑิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เธอไม่สามารถฝึกงานก่อนจบการศึกษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่จริง ทำให้ขาดประสบการณ์การทำงาน ขณะที่บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์อีกคนเล่าถึงความกังวลของตัวเองว่า“กลัวตกงานมาก เพราะเมื่อมีสถานการณ์โควิดเข้ามา บริษัทเขามีแต่จะคัดคนออก จะมีบริษัทที่ไหนรับคนเพิ่ม หรือต่อให้รับคนเพิ่มเขาก็ไม่พร้อมที่จะให้เงินเดือนที่เราพอใจ อีกทั้งยังต้อง work from home เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานกับเพื่อนร่วมงานไม่เต็มที่ ประสบการณ์ที่เราควรจะได้กลับได้น้อยลง”
工程学院毕业生说道:Covid-19疫情使得他没法在毕业前全心全意地实习,因为没有实地操练过,所以在工作方面缺少经验。与此同时,另一位文学院学生也表达了自己内心的担忧:“非常害怕失业,因为在Covid-19来势汹汹的时候,自己的公司只能裁员,还会有哪家公司再招人?即使再招聘新人也不会给出令人满意的工资。另外多数时间也是在家办公,导致不能全身心地投入与同事一同工作的环境中,自己获得的经验真的越来越少。 ”




อนาคตของเด็กจบใหม่
毕业生的未来


แม้แผนที่วางไว้จะพังลง จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่มีใครคาดคิดแต่สุดท้ายเด็กจบใหม่ทุกคนก็ต้องก้าวข้ามผ่านจุดนี้ไปให้ได้ เมื่อถามถึงแผนในอนาคตของตัวเองนับต่อจากนี้ไป บัณฑิตคนหนึ่งกล่าวว่า“ขอลองกับงานนี้ไปก่อน ลองพยายาม ทุ่มเทดูว่าเราสามารถปรับตัวเข้ากับสายงานนี้ได้ไหม ดูว่าทำงานแล้วเราชอบไหม ประสบความสำเร็จไหม ทำแล้วไม่รู้สึกเครียดหรือกดดันกับงาน ลองทำไปก่อนจากนั้นค่อยมาวางแผนอีกทีว่าจะเอาอย่างไรต่อไป เบื้องต้นแอบคิดว่าอยากจะเรียนต่อ แต่คงไม่ใช่เร็วๆ นี้ อยากลองงานไปก่อนสักปีหนึ่ง”
即使没有人预料得到的Covid-19让人们的未来愿景轰然倒塌,但最终每位毕业生都必须跨步越过这人生中的临界点,当我们问起这之后对未来的打算,一位学生告诉我们:“我先试试这份工作,试着加把劲,倾注心血后再看看自己能否适应这类工作,看自己是否喜欢,能否取得成功。如果上班后这份工作没有让我焦虑或压力大,那就先做这个,再从长计议,但我内心还是希望能够继续深造,但也许不是现在就能实现,先试着工作一年再说吧。”


(图片来源:视觉中国)

เช่นเดียวกับบัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ที่ต้องการลองค้นหาตัวเองจากงานที่ทำไปก่อนเช่นกัน“คงทำกับบริษัทนี้ต่อไป ตอนนี้เราเป็นเด็กจบใหม่ทำงานตามที่เขาสั่ง ในอนาคตเราก็จะค้นพบว่าเราชอบด้านนี้เป็นพิเศษ ด้านนั้นเป็นพิเศษ พอเรารู้แล้วก็จะไปต่อยอดทางด้านนั้น”ในขณะที่ บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์อีกคนกลับมองว่า อนาคตของตัวเองน่าจะอยู่ที่ต่างประเทศมากกว่า
另一位想从这项工作中寻求自我的文学院学生,也与他的想法基本一致:“我应该也会在这家公司继续做下去,现在我是应届毕业生,按部就班地工作,未来我应该会发现自己更喜欢哪方面工作,当我知道自己喜欢什么之后,便会在那条路上继续走下去。”还有一位同样是文学院的学生认为,自己未来应该更想在国外生活。

“ในอนาคตคงหวังว่าจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ แก้ปัญหาที่ตัวเอง เพราะรู้สึกว่าตอนนี้มืดมน การบริหารของรัฐบาลนี้แย่มากๆ ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยไม่ว่าจะทั้งโควิด-19 หรือเศรษฐกิจ จึงคิดว่าย้ายไปอยู่ต่างประเทศง่ายที่สุด ส่วนตัวตอนนี้ก็ศึกษา เตรียมตัวเรื่องภาษาไปเรื่อยๆ หากประเทศเปิดเมื่อไหร่ คงไปต่างประเทศ จะได้มีลู่ทางมากขึ้น” บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์กล่าวทิ้งท้าย
“未来我希望自己能够出国,解决自己的问题,因为感觉到现在前路晦暗,政府的治理能力实在太差,不管是疫情还是经济都没有任何起色,所以我觉得移居外国应该是最简便的方法,我现在也在学习、准备,不断积累出国所需的语言能力,假如什么时候开放国家了,我大概率会出国,我去国外之后应该会有更多发展空间。”这位文学院学生最后这样说。


(图片来源:视觉中国)


在新冠疫情席卷全世界之后,要找工作的小伙伴应该都或多或少感受到了其中的不易,尤其是在泰国疫情如此严重的当下,这份调查采访为我们说清楚了泰国应届毕业生的心态,人各有志,希望大家在自己未来的人生道路上都越走越远~

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自Sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。