没想到在以前的泰国,把吃街边摊比喻为狗进食!而现在,嘿嘿,咱就奔着他的小吃去的!泰国的美食不仅好吃还十分好看!而且各种美食真的应有尽有,今天我们一起来看看街边小吃是如何一步步成长的吧!


จากอาหารคนยาก ของคู่โรงบ่อน สู่ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
从穷人的食物以及赌场配套迈向经济驱动力


แน่นอนแล้วว่าต่อไปนี้อาหารหาบเร่แผงลอยเมืองไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะ กทม.ยืนยันจัดระเบียบทางเท้าให้เป็นพื้นที่ของคนทุกกลุ่ม คือต้องเดินได้สะดวกและปลอดภัย ส่วนหาบเร่รถเข็น Street Food นั้นมีแนวคิดให้ไปอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งที่เป็นย่านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว เพื่อสะดวกในการจัดการ แล้วก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวไปในตัว 
如今,曼谷为了确保每个群体都有便道,可以安全轻松地行走在街头,街边摊位已经不再像原来那样随处可摆摊了。一般以旅游区、景点居多,以便于管理和吸引游客旅游用餐。


กินข้าวกลางตลาด เสมอชาติสุนัข
像犬一样,在集市吃饭


ที่จริงแล้วก่อนคำว่า Street Food จะฮิต บ้านเรามีการลักษณะการกินอาหารอยู่สองอย่าง คือ การกินข้าวในบ้าน เป็นการกินแบบ Private ถือกันว่าเป็นการกินแบบผู้ดี มีการทำครัว มีสูตรอาหารประจำบ้านประจำตำหนัก ถือเป็นหน้าเป็นตาเวลาจัดเลี้ยงรับแขก ส่วนอีกอย่างคือ การกินข้าวนอกบ้าน ว่าง่ายๆ ก็คือกินตามตลาดนั่นแหละ ใน “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง” เล่าว่าปลายสมัยอยุธยาทั้งนอกกรุงและในกรุงฯ ก็มีร้านขายขนม ผลไม้ ของสด ฯลฯ มากมายนับไม่ถ้วนให้เลือกสรรแล้ว
实际上,在 “街边小吃”这个词流行前,泰国有两种饮食特点,一是在家中用餐,即私人式用餐,一般是贵族家庭,会做饭,有自己的家庭食谱,做出来用于招待宾客的食物不一般。而另一种就是在外用餐,简单地说就是在街边用餐。根据《皇室文件:Wat Pradu Songtham皇室记载》中说道,阿育塔雅后期,城内城外都有着数不清的摊贩出售糕点、水果以及各种新鲜的农产品,可供选择的种类繁多。

“ถนนย่านป่าขนมชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขาย แลนั่งร้านขายขนมชะมดกงเกวียนสามเกลอหินฝนทอง ขนมกรุบขนมพิมพ์ถั่วขนม สำปะนีแลขนมแห้งต่างๆ” 
“生活在山林地区的百姓在林道或者在店里售卖各种脆糕、印花糕点、糖果和各种干食。”

ซึ่งการกินข้าวนอกบ้าน หรือกินเอาที่ตลาด เป็นลักษณะของผู้ใช้แรงงาน หาเช้ากินค่ำ ไม่ได้มีเวลา หรือมีแรงคนครัวจัดหาสำรับอาหาร ทัศนะต่อการกินอาหารตลาด-อาหารริมทางว่า “ผู้ไม่ดี” มีมาจนถึงอย่างน้อยก็สมัยรัตนโกสินทร์ ดูอย่าง “ตำราเศษพระจอมเกล้า” หรือการพยากรณ์ตำราตรีภพ ที่เอาวันเดือนปีเกิดมาคำนวณจนได้เศษต่างๆ ตอนหนึ่งบอกว่า “เศษเก้ากินข้าวกลางตลาด เสมอชาติสุนัข” คำทำนายฟังแล้วสะดุ้ง แค่กินข้าวในตลาดเป็นหมาเลยเหรอ แต่ก็สะท้อนแนวคิดการกินอาหารริมทางได้ดี
至于在家外吃饭或是在街边吃饭是劳动者的日常,因为收入勉强能度日,没有时间或精力去做饭。一直持续到却克里王朝,人们就一直秉持着集市小吃和街边小吃是“平民”才会吃的观点。在《拉玛四世数字籍》(一本以出生年月日为基准计算,最后得出10以下的数字的占星书)中写到“数字9,像犬一样在集市吃饭。”这样的预测让人很震惊,难道在集市上吃饭就是狗了吗?这也反映出了当时人们对街边小吃的鄙视以及不屑。



มีบ่อนที่ไหนมีอาหารริมทางที่นั่น
赌场在哪,街边小吃就在哪


ที่บอกว่าการกินข้าวริมทางร้านตลาดเป็นเรื่องของคนจน หรือไม่ใช่เรื่องของผู้ดี น่าจะมีที่มาจากทำเลการตั้งร้านด้วยเหมือนกัน “พระยาอนุมานราชธน” บันทึกจากประสบการณ์ที่ประจักษ์ด้วยสายตาตัวเองตอนท่านเด็กๆ ราวสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า ที่ไหนมี “โรงบ่อน” ที่นั่นมีของกินขาย 
而“在街边集市吃饭只是穷人会做的事,贵族不会这样做的”的观念来自哪呢?从菲亚·阿努曼·拉贾东(Phraya Anuman Rajadhon )记录自己儿时亲身经历的事件的书籍中看出,大概是在拉马五世,就已经有了:“哪里有赌场,哪里就有吃食卖”这一说法。(菲亚·阿努曼·拉贾东(Phya Anuman Rajadhon): 1888年12月14日-1969年7月12日,泰国现代最杰出的学者之一。)

"ถ้าต้องการอาหารและขนมรับประทาน ก็ต้องไปหาซื้อหรือรับประทานได้สะดวกตามร้านต่างๆ ถ้าไม่ไปซื้อที่ตลาดสำเพ็ง ก็ต้องไปซื้อตามร้านอยู่ใกล้กับโรงบ่อน ตลาดขายของสดก็มักตั้งอยู่ไม่สู้ห่างไกลกับโรงบ่อน จะไปเปิดร้านขายอาหารขายของที่อื่นก็ขายไม่ใคร่ได้เพราะถัดจากบริเวณโรงบ่อนไปแล้ว บางแห่งก็หาคนเดินไปมาไม่สู้มากนัก"
“如果想吃饭和糕点,在各个店就可以轻松买到或是食用,但如果不在Sampheng市场买,就要去到赌场附近的店购买,生鲜市场通常位于距赌场不远的地方。如果想在别处开饭馆,商店,可能没有多少人光顾,因为人群都聚集在赌场附近。”

นั่นก็เป็นเพราะโรงบ่อนนิยมไปตั้งตามที่ชุมนุมชน และคนถ้าได้ลองเข้าบ่อนแล้วทุกนาทีมีความหมายมากๆ การกินการนอนก็อยากจะเสียเวลาให้น้อยที่สุด เพื่อเข้าไปถอนทุนต่อ สบช่องให้พ่อค้าแม่ค้ารู้พฤติกรรมมาตั้งร้านรวงดักนักพนัน ด้วยเหตุนี้เองของกินริมทางจึงมักอยู่คู่กับโรงบ่อนไปโดยปริยาย ตอกย้ำภาพการกินข้าวริมทางที่ดูไม่ค่อยผู้ดีนัก
那是因为赌场基本都是开在人群聚集区,如果有人踏入了赌场,那么对于他来说,为了能回本,每一分钟都意义重大。自然而然,吃饭睡觉的时间在他那就显得十分多余。而商贩们就在赌徒身上抓住了商机,将店铺开在赌场附近。由此,街边小吃就渐渐的与赌场有了联系,并逐渐强化了人们心中“街边小吃看起来不像是贵族的行为”的这一想法。

อาหารริมทางที่คู่กับโรงบ่อนส่วนใหญ่เป็นร้านชาวจีนแต้จิ๋ว มีร้านข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม ส่วนร้านที่เป็นของคนไทยมักเป็นร้านขนม เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง จะมีก๋วยเตี๋ยวผัดของไทยก็นานๆ จะเห็นที
在赌场附近的街边小吃大多都是潮州小吃,有咖喱饭、面条、粥。至于泰国人的店,通常是以糕点为主,比如:蛋黄花、甜蛋丝,泰式炒面也偶尔能见到。



ร้านเหล่านี้ยังคงตอบโจทย์การกินแบบ “ถูกๆ” และกลุ่มเป้าหมาย “คนไม่ค่อยมีตังค์” อยู่เช่นเคย โดยพระยาอนุมานราชธน บันทึกว่า “ร้านขายข้าวแกงเหล่านี้ขายคนจีนชั้นกรรมกร แต่คนไทยก็เคยไปนั่งยองๆ แยงแย่อยู่บนม้ายาวกินเหมือนกัน เพราะเป็นอาหารคาถูก”
当然,这些餐馆仍然满足“便宜”的特质以及目标人群是“穷苦百姓”的需求。菲亚·阿努曼·拉贾东记载道:“这些售卖咖喱饭的餐馆目标人群是处于工人阶级的中国人,但泰国人也会因为便宜而前去用餐。”

ส่วนอีกที่ที่ของกินริมทางมากพอๆ กับโรงบ่อนก็คือ “โรงหวย” หลังตึกแถวทางฝั่งเหนือของ ถ.เจริญกรุง หรืออยู่ตรงข้ามวังเดิมของกรมพระยาดำรงฯ หันหน้าออกถนนรอบกำแพงเมือง ที่นั่นคนก็เยอะของกินก็เยอะ พระยาอนุมานราชธนท่านว่ามีทั้งข้าวต้มหมู ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ก๋วยเตี๋ยวผัด ขนมจันอับ ทองหยิบ ฝอยทอง เต้าทึง เต้าส่วน ขนมอี๋ เหล้าโรงยาดอง เรียกว่ามีทั้งแนวอิ่ม แนวเมาในย่านเดียว
另一处和赌场一样街边小吃摊繁多的区域就是位于石龙军路北侧建筑物后的“彩票屋”(长城路Krom Phraya Damrong的对面)周围的区域。那里小吃多,人也多。菲亚·阿努曼·拉贾东记载道,那里有猪肉粥、汤粉、炒粉、糕点、蛋黄花、甜蛋丝、冰粉、中国绿豆甜品、芋圆甜点和特制药酒等小吃,既有吃食,也有让人醉了的酒。

หลังรัชกาลที่ 5 เริ่มประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย ร้านอาหารริมทางก็เห็นทีจะไม่ต้องพึ่งพิงโรงบ่อนกันอีกต่อไปแล้ว เพราะเมื่อประกอบกับสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะมีการเลิกทาส หรือการที่คนมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้คนหันมาประกอบอาชีพหลากหลาย ถึงตรงนี้ร้านอาหารริมทางกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพ การกินข้าวนอกบ้านเริ่มกลายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้ “เสมอชาติสุนักขา” อีกต่อไป ยิ่งมีการเปิดร้านอาหารหรูแบบที่เรียกว่า “ขึ้นเหลา” การกินข้าวนอกบ้านจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความ “มีเงิน” ในที่สุด
国王拉玛五世继位后,宣布禁赌令。街边小贩们就发现他们不能再继续依靠赌场赚钱了。社会在不断变化,无论是奴隶制的废除还是有机会接受教育的人群增多,都让不少人回过头来从事各类职业。当然,“街边小贩”也成为了一门职业,外出用餐也已司空见惯,不再是之前人们认为的“像狗一样用餐”了。后来,随着一家名为 “Khao Lao”的豪华餐厅的开业,让外出就餐最终演变成了“有钱”的象征。



สตรีทฟู้ดสุดฮิตในอดีตคืออะไร?
过去最受欢迎的街边小吃是什么?


หลายครั้งเลยทีเดียวที่ชนชั้นนำของสยามกล่าวถึงอาหารอร่อยตามย่านต่างๆ ที่เห็นบ่อยๆ เช่น กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ เอ่ยถึง “หมี่ตลาดพลู” และ “หมี่ท่าช้าง” ในสาส์นสมเด็จ โดย “หมี่ท่าช้าง” นี่ทรงกล่าวถึงอย่างน้อย 2 ครั้ง สงสัยฮิตจริงในยุคนั้น และแสดงให้เห็นว่าแม้แต่เชื้อพระวงศ์ก็ไม่ปฏิเสธการเสวยอาหารนอกวัง
泰国王室人员就多次提到自己在各个地区发现的各种美食,例如,丹龙·拉差努帕亲王曾在手记中提到 “Talat Phu面条”和“Thachang面”。而且“Thachang面”被提到的次数不少于2次,由此看来,“Thachang面”在那个时代是非常受欢迎的。当然,这也表明了即使是王室,也并不排斥在外用餐的。(กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ是泰国王室亲王,1862年6月22日-1943年12月1日,虽然只受过四年的正式教育,但却是泰国现代教育与省行政区划的创办设计者,也是泰国知识分子的代表性人物之一。)

แต่ถ้าจะให้ลงความเห็นว่าอาหารริมทางที่ฮอตที่สุดในอดีต ส่วนตัวฉันคิดว่า “ขนมจีน” ต้องเป็นหนึ่งในท็อปฮิต มีเรื่องเล่าจาก “พระยาอนุมานราชธน” ท่านเดิมว่า ขณะรับราชการในกรมศุลกากร พวกที่เป็นนายตรวจสินค้าและประจำเรือสินค้าต้องมาทำงานกันแต่เช้า แต่ตามสไตล์หนุ่มไทยเที่ยวดึก มาสาย ก็ถูกสารวัตรใหญ่ที่เป็นฝรั่งซักถามเป็นภาษาอังกฤษว่าทำไมมาช้า โดยคนเหล่านั้นก็ตอบแก้ตัว แบบเตรียมคำตอบมาอยู่แล้วเป็นภาษาอังกฤษว่า“My stomach falls down very down badly because I eat Chinese cake medicine water. - ข้าพเจ้าลงท้องอย่างหนักเพราะไปกินขนมจีนน้ำยา" ฝรั่งไม่เข้าใจซักจนรำคาญเลยปล่อยๆ ไปในที่สุด 
但如果要说过去最热门的街边小吃,就我个人而言, “泰式米线”就是其中之一。亲王菲亚·阿努曼·拉贾东记录了这样的一件事:在海关部门工作的货物检查员和货船工作人员一般都是一大早就来上班,但根据泰国年轻人一贯的“夜行游”、“姗姗来迟”的风格来讲,就不得不遭到西方检查员的询问‘为啥来迟了’。泰国相关人员就用英语辩解说:“My stomach falls down very down badly because I eat Chinese cake medicine water. -吃了好多泰式米线,拉肚子得走不动路了”外国人不明白其中的意思觉得烦了就放过他们了。



ฮิตจริงอะไรจริง แต่ถ้าถามว่าร้านไหนอร่อยไม่จกตาแล้ว เจ้าคุณฯ ท่านว่าเป็นร้าน “ยายนาคแถวบางลำภูล่าง” (สะกดตามอย่างท่านเจ้าคุณเขียน) คนซื้อกันแน่นขนัดขายดิบขายดี มีเรื่องเล่าว่าคราวสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเลียบพระนคร ทรงโปรยทานตลอดสองข้างทาง ปรากฏว่าทรงโปรยสาดเข้าไปในร้านขายขนมจีนน้ำยาของยายนาคด้วย
但如果要说哪里的小吃摊最好吃?菲亚·阿努曼·拉贾东肯定会说“Bang Lamphu Lang 的Yai Nak”(根据亲王的手记拼写),因为那里人头攒动,所卖的小吃都十分热销。在国王陛下巡视首都时,也曾在Yai Nak售卖泰式药膳米线的餐厅用过餐。

“...คนก็กรูกันเข้าแย่งเก็บเงินกัน ยายนาคร้องห้ามเอ็ดตะโรอยู่เปิงๆ เพราะหม้อข้าวหม้อแกงของแกที่ในร้านแตกป่นปี้หมด ...เมื่อทรงทราบความจริงแล้วก็พระราชทานเงินเป็นของขวัญชดใช้ค่าเสียหายให้ ...นี่ก็เป็นกุศลอีกอย่างที่ยายนาคได้รับจากพระมหากรุณาธิคุณ หนุนให้ขนมจีนน้ำยาของแกมีชื่อเสียง กระทำให้ยายนาคเป็นคนมีอันจะกิน...”
“...摊主们都纷纷来此地开店,成了竞争关系。在之前Yai Nak会禁止食客大喊大叫,因为店里的砂锅和汤锅随时可能会被震碎…当陛下知道了这件事,就赐予了金钱给摊主们补偿了他们的损失…这一善举让Yai Nak受到了王室的恩泽,也使得“泰式药膳米线”这道菜名声大噪,不少食客都纷纷闻名而来。"

แต่ถ้าเป็น “ขนมจีนน้ำพริก” แล้วหละก็ “อาจารย์เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร” เขียนถึงกรุงเทพฯ เมื่อกว่า 100 ปีก่อนว่า ต้องไปกินที่ “ทุ่งภูเขาทอง” เริ่ดสุดอะไรสุด
但如果提到“辣汤米线”,就要说起Permsakwan Yangkun 老师在100年前提到曼谷时说,吃辣汤米线就去“Thung Phu Khao Thong”。 

“...ที่ทุ่งภูเขาทองเขาว่า ในบรรดาขนมจีนน้ำพริกกับข้าวเม่าทอดด้วยกันแล้ว เป็นไม่มีที่ไหนอร่อยเท่า และยิ่งมีแม่ค้าหน้าหวาน ๆ ร้องขายเป็นเพลงเป็นกลอน สำเนียงไพเราะเพราะพริ้งดุจจะเย้ยเสียงระฆังวัดสระเกศให้ได้อายด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มรสให้โอชาได้ดีพิลึก เสียงร้องขายขนมของแม่ค้าทุ่งภูเขาทอง เด็ก ๆ ในสมัยนั้นจำเอามาร้องกันออกขรมถมเถไป...” 
“…在Thung Phu Khao Thong将辣汤米线和饭混在一起吃,简直就是无与伦比的美味。在那里,长相甜美的女贩们唱着歌谣叫卖,悦耳动听的歌谣让金山寺沉闷钟声都害羞,同时也是食物的增味剂。而在那时,孩子们对Thung Phu Khao Thong小摊的歌谣记得也是滚瓜烂熟。”


เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยว
吸引游客的魅力


ทุกวันนี้สตรีทฟู้ดไทยกลายเป็นที่นิยม สื่อต่างประเทศจัดอันดับให้เป็นอาหารที่คุ้มค่า อร่อย และหลากหลาย เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ ฯลฯ ให้มาชิมเสน่ห์แบบไทยๆ แต่แน่นอนว่าตอนนี้สตรีทฟู้ดกำลังมีนโยบายจัดระเบียบ ซึ่งก็เป็นเรื่องดี แม้นโยบายที่ออกมาจะยังมีความกังวลว่า ต่อไปเสน่ห์อาหารริมทางจริงๆ จะหายไปหรือไม่ เป็นธรรมกับผู้ค้าไหม หรืออาหารริมทางจะแพงขึ้นไหม? 
如今,泰国的街边小吃已经成为了一种流行的趋势。外国媒体也将其列为了世界上一流的集划算、美味、多样化为一体的食物之一。同时,吸引了不少的游客和各个用户大V前来感受泰式风格的魅力。不过,尽管现在出台了明确的街边小吃的规章制度,但还是会有一些诸如“街边小吃的魅力会延续下去吗?它会消失吗?对交易者公平吗?街边小吃会变贵吗?”等等问题的担忧。


不过这些问题还是需要有关部门解决和控制的。只有规范好食品各项问题,才能让这样的“街头文化”流传下去呀~

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自voicetv,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。