大家都知道,泰语有很多种方言,各种方言在语音和词汇方面都有一些大大小小的差异,那大家知不知道你在课本上学习的泰语是哪种口音呢?答案就是曼谷口音,这也被大家认为是现如今的泰语“普通话”,但是你知道吗?很久以前它竟然也被当作“外地口音”。到底是什么回事?一起来了解一下。

文章带读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

สำเนียงภาษาเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ซึ่งสามารถบ่งบอกที่มาที่ไปของแต่ละบุคคลได้ แต่ต้องยอมรับว่าบางครั้ง สำเนียง ของภาษาถิ่นมักถูก “คนจากศูนย์กลาง” ล้อเลียนหรือบางครั้งอาจถึงกับแฝงนัยยะเหยียดสำเนียงถิ่น อย่างเช่นกรณีของสำเนียงหลวงยุคกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานีก่อนที่ย้ายพระนครมาที่ธนบุรีก็เคยเป็น “สำเนียงหลวง” มาก่อน และมองสำเนียง “บางกอก” ว่า “บ้านนอก”
口音是能展示一个人认同的东西,但是不得不承认,有时候口音会成为“身处中心的人”去嘲笑或者对地方口音表达欺凌,就比如在定都吞武里成之前,作为都城的阿瑜陀耶中生活的 人说的就是“皇家正统口音”,认为“曼谷口音”是外地的。

ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เคยรับรู้กันว่าย่านบางกอกอยู่ห่างไกล ลักษณะทางประชากรของคนบางกอกสมัยนั้น สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายไว้ในหนังสือ “กรุงเทพฯ มาจากไหน” ว่า คนบางกอกมีหลายชาติพันธุ์ อาทิ มอญ-เขมร, ชวา-มลายู, มาเลย์-จาม จนถึงลาว-ไทย
在都城位于阿瑜陀耶的时期,人们认为曼谷在很远的距离,关于曼谷当时的居民,Sujit Wongthet在《曼谷来自哪?》一书中解释道,当时曼谷有很多个民族,比如孟族-高棉 族人,爪哇-马来人,马来-占族人,老-泰族人。

 ด้วยความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ แน่นอนว่าสำเนียงในภาษาที่ใช้สื่อสารกันของแต่ละกลุ่มนั้นย่อมหลากหลายด้วย แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าการสื่อสารระหว่างชาติพันธุ์นั้นใช้สำเนียงภาษาอะไรสื่อสารระหว่างกัน จากความคิดเห็นของสุจิตต์ วงษ์เทศ มองว่า สำเนียงภาษากลางที่ใช้สื่อสารทั่วไประหว่างคนกลุ่มใหญ่เป็นภาษาไทยในตระกูลลาว-ไทย
因为各个民族之间的不同,肯定会导致各个民族所使用的口音也是多种多样,但是无法求证这些民族之间交流的口音是怎么样的。根据Sujit Wongthet的看法,他认为在中部各个民 族之间使用的口音应该是老-泰口音的泰语。

สำหรับกรณีของ “บางกอก” อันเป็นชุมชนเก่าที่ขยับขยายจากชุมชนเดิมซึ่งเคยอยู่แถบย่านจอดเรือพักแรมมาก่อนและตั้งเรียงรายตามปากคลองสายเล็กบริเวณที่มีลำน้ำเชื่อมต่อไปออกแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดสมุทรสาคร มาอยู่ที่ปลายคลองลัดหลังจากการขุดคลองลัดเพื่อขจัดอุปสรรคการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยอยุธยา แล้วมีชื่อภายหลังว่า “บางกอก” สุจิตต์ วงษ์เทศ ตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจเป็นชื่อเก่าก่อนขุดคลองลัดที่มีคลองสาขาเล็กๆ เรียกว่า “คลองมะกอก” เนื่องจากมีต้นมะกอก(น้ำ)ขึ้นอยู่มาก นานเข้าก็เสียงกร่อนเหลือ “บางกอก”
曼谷是由从前的居民聚居地扩展而来的,从前的居民居住在一处小运河河口的驻船区域,这里连接了龙仔厝府他钦河流域,后来为了增强交通便捷,在阿瑜陀耶时期挖掘了更 近的河道,后来这里被称为“Bangkok”。 Sujit Wongthet推测,“Khlong Makok”这可能是一条小运河的名字,因为附近有很多水橄榄树,时间久了就音变成了“Bangkok”。

หลังจากขุดคลองลัดแล้ว เมื่อประกอบกับกระแสน้ำไหลลัดอย่างหลากและแรงทุกปี เวลาผ่านไปก็ขยายกว้างออกตามธรรมชาติกลายเป็นเส้นทางคมนาคมใหม่ระหว่างอ่าวไทยกับกรุงศรีอยุธยาที่สะดวก บริเวณบางกอกจึงกลายเป็นจุดที่มีความสำคัญ เป็นจุดพักเรือของนานาประเทศ ผู้คนตั้งหลักแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าจนกลายเป็นชุมชนเมือง ตั้งแต่นั้นก็เรียกกันต่อมาว่า “เมืองบางกอก”
运河挖通之后,连通了很多水流,每年流量都很大,时间久了就自然而然扩展成了连接暹罗湾河阿瑜陀耶城便捷的水路,曼谷于是变成了重要的地方,成为了很多个国家驻船的地点,很多人 在这里定居做生意,这里变成了人们的聚居区域,从那时起就被称为“曼谷城”。

บางกอกถูกยกฐานะเป็นเมืองในสมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111) มีชื่อในทำเนียบหัวเมือง โดยเรียกกันหลากหลาย แต่มาเรียกตรงกันในยุคหลังว่า “ธนบุรี” และมีสร้อยต่อท้ายว่า “ธนบุรีศรีมหาสมุทร” สืบเนื่องมาจากอยู่ใกล้ทะเลอ่าวไทย
曼谷在Maha Chakkraphat(佛历2091-2111年)在位时期被升级为城市,和都城周边的城市平级,称呼多种多样,后来有被叫“吞武里”,还带着“海滨城”的后缀,表明了这里离暹罗湾很近。

กลับมาที่เรื่อง สำเนียง ในภาษาอีกครั้ง สมัยยุคกรุงศรีอยุธยา สำเนียงภาษาของคนบางกอกเป็นสำเนียงถิ่นย่อยๆ ของสำเนียงหลวงที่อยู่ในราชธานีกรุงศรีอยุธยา สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายรายละเอียดของสำเนียงหลวงยุคกรุงศรีอยุธยาว่ามีร่องรอยอยู่กับเจรจาโขน ซึ่งคนทั่วไปในปัจจุบันเรียกกันว่า “เหน่อ” คล้ายสำเนียงสุพรรณบุรีกับหลวงพระบาง
回到口音, 在阿瑜陀耶时期,曼谷的口音只是阿瑜陀耶皇家正统口音下一个小小的口音,Sujit Wongthet解释了阿瑜陀耶时期的皇家正统口音,有孔剧对白的痕迹,现在的人们会认为有一点口音,类似素攀武里和琅勃拉邦的口音。

สำเนียงบางกอกของคนสมัยนั้นถูกคนในพระนครศรีอยุธยาที่ใช้สำเนียงหลวง (ซึ่งคนปัจจุบันมองว่า “เหน่อ”) เรียกว่า “บ้านนอก” และ “เยื้อง” เนื่องจากสำเนียงบางกอกไม่ตรงกับสำเนียงหลวงในสมัยนั้น
当时阿 瑜陀耶时期的人认为曼谷口音与皇家正统口音不一致,所以被称为“外地口音”。

หลังจากกรุงแตก พ.ศ. 2310 ราชธานีย้ายจากพระนครศรีอยุธยาลงมาอยู่ที่ย่านบางกอกที่เมืองธนบุรี สำเนียงบางกอกก็ถูกยกเป็นสำเนียงหลวงสืบเนื่องถึงกรุงเทพฯ ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนสำเนียงหลวงแบบดั้งเดิมก็ถูกเหยียดว่า “เหน่อ” แทน
在1767年都城从阿瑜陀耶迁移到了曼谷地区的吞武里城,曼谷口音就被提升称为皇家正统口音,一直延续到今天,而以前的皇家正统口音就变成了外地口音。

 

大家有听过不同的泰语口音吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。