大家都知道,泰语里人称代词众多,其中就有一个非常特殊的存在,那就是“กู”,老师肯定告诉过你这个人称代词不礼貌。但你知道吗?它却是泰国人最早使用的一个第一人称代词,很久以前并没有不礼貌的含义,就连兰甘亨石碑上用的也是这个词,它到底是什么时候被赋予了负面的含义呢?今天我们来好好了解一下。

文章带读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

“แน่จริงมึงเจอกู!” ใครได้ยินคงสะดุ้ง เพราะมีความหมายเชิงท้าตีท้าต่อย และในเชิงภาษา คำว่า “กู” ในบริบทนี้ถือเป็น “คำหยาบ” แต่ถ้าอยู่ในประโยค “เดี๋ยวกูกับมึงไปกินหมูกระทะกัน” ก็ถือเป็นคำแทนตัวเองและอีกฝ่าย แสดงความสนิทสนม ไม่ได้มีความหมายไปในเชิงไม่สุภาพแต่อย่างใด
“给老子等着 !”谁听到这句话都会吓一跳,因为这句话的意思非常强烈,而且“กู”在这里被视为不礼貌的词,但是如果我们说:“今晚我和你去吃泰式烧烤火锅。”这句话里就仅仅是指代自己和另一方,表达一种亲密的关系,没有任何不礼貌的含义。

คำว่า กู มึง ข้า เอ็ง เป็นกลุ่มคำที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต อธิบายไว้ว่าเป็นคำธรรมดาที่คนไทยแต่ก่อนเคยใช้กันมาปกติ ไม่ได้มีความหมายใช้เป็นคำหยาบหรือดูถูกดูหมิ่นใด ๆ แต่ต่อมาถูกลดฐานะลงเป็นคำไม่สุภาพ
根据皇家学术委员会Kanchana Naksakul荣誉教授的解释,กู มึง ข้า เอ็ง这几个人称代词是泰国人很早以前使用的普通人称代词,并不是不礼貌或者表达瞧不起的词汇,后来被赋予了不礼貌的含 义。

แล้วคำว่า “กู” เป็นคำหยาบตั้งแต่เมื่อไหร่? มีผู้สันนิษฐานว่า กู เริ่มเป็นคำหยาบ สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ออก “รัฐนิยม” 12 ฉบับ ระหว่าง พ.ศ. 2482-2485 เพื่อให้คนไทยมีจิตสำนึกรักชาติ และสร้างชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ หนึ่งในนั้นคือการใช้คำสุภาพในการพูดคุยกัน
那“กู”这个词 是什么时候变得不礼貌的?有人推测,“กู”是在銮披汶·颂堪时期成为一个不礼貌的词的,当时这位总理在1939-1942年间颁布了12份“国家法令”,目的是为了让泰国人产生爱国意识,让泰国发展成一个文明国家,其中一个内容就是交谈中的礼貌用语。

สะท้อนจาก “คติ 6 ประการของคนไทย” ที่สำนักนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลจอมพล ป. ประกาศในปี 2487 ประกอบด้วย ตัวตายดีกว่าชาติตาย, ตัวตายดีกว่าชื่อตาย, ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว ชาติคือเครือญาติในครัวเรือน, ว่าอะไรว่าตามกัน, ความสำเร็จอยู่ที่ทำจริงเป็นล่ำเป็นสัน และ ช่วยกันนิยมพูด ฉัน ท่าน จ้ะ ไม่ เป็นคำสุภาพดี
从銮披汶政 府内阁1944年的发布的“泰国人6格言”可以反映出来,分别是:国家比个人生死重要,名声比个人生死重要,国是家,军人是围栏,民族是家庭,顺从不反抗,成功需要脚踏实地,共同说礼貌用语。

หากพิจารณาบริบทสังคมข้างต้นในทศวรรษที่ 2480 “กู” ซึ่งมีความหมายเดียวกับ “ฉัน” คือเป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง กลับถูกกันออกจากความสุภาพ กลายเป็นคำหยาบไปโดยปริยาย
如果考虑到当时20世纪30年代,“กู”的含义和“ฉัน”一样,都是第一人称代词,反而被踢出了礼貌用语的行列,成为了一个不礼貌的词。

แต่ที่จริงแล้ว พบหลักฐานว่ากูเป็นคำหยาบเก่ากว่าสมัยจอมพล ป. เสียอีก ปรากฏอยู่ใน “สาส์นสมเด็จ” ระบุวันเดือนปีที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2478
但实际上,发现了 比銮披汶时期更早的证据表明“กู”是个不礼貌的词汇,出现在了《亲王书信集》中,1935年3月21日的那份信件提到了此事。

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ 12 มีนาคม ปี 2478 ตรัสถึงการใช้สรรพนามแทนพระองค์ในการแต่งหนังสือ “เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพม่า” ซึ่งกรมดำรงทรงเล่าว่า การแต่งหนังสือนี้มีปัญหาเรื่องการใช้สรรพนามเรียกพระองค์ว่าควรใช้คำใด
丹龙·拉差努帕亲王于 1935年3月12日给那里沙拉·努瓦迪翁亲王写了一封书信,提到了在写《缅甸故事》一书中遇到了不知道应该使用哪个第一人称代词的问题。

“ถ้าใช้คำว่า ‘หม่อมฉัน’ หนังสือเป็นจดหมาย Letter ถวายเฉพาะพระองค์ท่านฉบับเดียว ฉบับอื่นเป็นแต่สำเนา ถ้าใช้คำ ‘ข้าพเจ้า’ เป็นหนังสือแต่งโฆษณาแก่มหาชน ซึ่งหม่อมฉันไม่ปรารถนาจะแต่งในสมัยนี้ จึงใช้คำ ‘ฉัน’ เป็นสำนวนกลางอย่างพูดกันกับมิตรสหาย…”
“如果用‘หม่อ มฉัน’是进献给国王用的,别的不用,如果用‘ข้าพเจ้า’是向普通民众宣传事情的,หม่อมฉัน在这个时代不适合用,所以用了‘ฉัน’作为一个和朋友们交谈的中性词汇…”

เมื่อกรมนริศทรงได้รับจดหมายจากกรมดำรง ก็ทรงมีลายพระหัตถ์ตอบ ลงวันที่ 21 มีนาคม ปี 2478 ความว่า
当那里沙拉 ·努瓦迪翁亲王收到信件后,在1935年3月21日回复道:

“ข้อพระปรารภเรื่องใช้สรรพนามเรียกตัวเองนั้น มาเข้ากะบ้องแต๋งที่เกล้ากระหม่อมดิ้นมาแล้วทีเดียว ตั้งต้นรู้สึกขัดข้องที่จดบันทึกและบัญชีอะไร ๆ อันเป็นของส่วนตัว จะเรียกตัวเองว่ากระไรดี จะเรียก ‘ข้าพเจ้า’ (ซึ่งมาแต่ข้าพ่อเจ้า) เห็นไม่ควรเลย เพราะคำนั้นเป็นคำใช้พูดกับอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่พูดกับตัวเอง และเป็นคำที่ถ่อมตัวลงต่ำมาก ไม่ต้องประกอบหลายคำ เอาแต่ ‘ข้า’ คำเดียวก็แปลว่าผู้รับใช้ (เป็นไปในพวกเดียวกับบ่าวหรือทาส) เสียแล้ว จะใช้คำ ‘เรา’ ตามแบบที่ใช้ในพระราชดำรัสต่าง ๆ ก็เห็นไม่ถูก เพราะคำว่าเรานั้นเป็นพหูพจน์ ได้คิดค้นคำเรียกตัวเองเมื่อพูดกับตัวเองก็พบคำ ‘กู’ ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาถือกันว่าเป็นคำผรุสวาท อีกคำหนึ่งก็ ‘ตู’ เดี๋ยวนี้เขาก็ไม่ใช้กัน ใช้เข้าก็เป็นอุตริ…”
“怎么用人称代词称呼自己已经为难很久了,在各种记录和名单中把自己叫做‘ข้าพเจ้า’,但感觉也行不通,因为这个词是在和其他人说话时用的,不是和自己说话时用的,而且是 一个非常谦虚的词,不需要很多词的组合,仅仅是‘ข้า’这个词就知道是翻译成奴隶,如果用我们在宫中用的‘เรา’也感觉不对,因为这个词是复数,想了半天叫自己的词就想到了‘กู’,但现在人们把它当作一个不礼貌的词,还有一个现在不太用的‘ตู’,用了很奇怪….”

ตามที่กรมนริศทรงบอก ก็เท่ากับช่วงปลายทศวรรษ 2470 กูเป็นคำผรุสวาท (คำหยาบ) แล้วนั่นเอง อย่างน้อยก็พอจะมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจนเช่นนี้
根据那里沙拉·努瓦迪翁亲王的说法,在大概20世纪20年代,“กู”就已经是不礼貌的词汇了,至少有明确的证据表明。

 

大家了解“กู”背后的故事了吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。