了解泰国的小伙伴们应该都知道泰国有三个季节,一年的气温变化也就是“热、很热、非常热”,出门走一小会儿就是满头大汗,所以泰国人民自古以来就是非常爱洗澡滴!以前小编也被泰国朋友“嫌弃”过,“嗷,早上起来为什么不洗澡啊?”今天小编就带大家看看泰国洗澡的那些文化

ในสังคมไทย การอาบน้ำชำระล้างกายถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่โบราณ จนอาจเรียกเป็นวัฒนธรรมก็ว่าได้ ซึ่งการอาบน้ำบางประเภท ยังได้รับยกย่องเป็นประเพณีพิธีกรรมด้วย
洗澡是泰国社会自古以来得以传承的智慧之一,甚至可以被称为一种文化,有一些洗澡方式还被视为传统仪式。

สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า นาย อามู ฮาจิ ชายชาวอิหร่าน ผู้ถูกตั้งฉายาว่า ‘มนุษย์ที่สกปรกที่สุดในโลก’ เนื่องจากเขาไม่อาบน้ำมานานกว่าครึ่งศตวรรษ เสียชีวิตแล้วในวัย 94 ปี ไม่กี่เดือนหลังจากเขาถูกบีบให้อาบน้ำเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี
据BBC报道,被喻为“全球最脏的人” 的伊朗人哈吉在前段时间去世了,他已经半个多世纪没有洗澡。几个月前,村民强迫他洗了澡,之后不久他就生病去世了,终年94岁。


(图源:视觉中国)

其实他身上有一个比较凄美的传闻,据说他不洗澡,是因为想要留下亡妻的味道,也是一位性情中人。

而和他比起来,泰国人可以说是超级爱洗澡超级爱干净了。


ย้อนรอยการอาบน้ำไทย จากบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ 
从Simon de La Loubère的记载中追溯泰国人的洗澡文化

เนื่องจากความรุ่มรวยทางทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ไทยเราจึงเป็นชนชาติที่มีการอาบน้ำเป็นกิจวัตรประจำ มากน้อยต่างกันตามวาระ จากจดหมายเหตุพงศาวดารของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ที่บันทึกกล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 ได้บันทึกเกี่ยวกับการอาบน้ำของคนไทยยุคนั้นเป็นเรื่องๆ ไว้ว่า
由于水资源丰富,洗澡是每个泰国人的日常,洗澡次数的多少根据时节而变化。Simon de La Loubère编年史记载了1687年那莱大帝末期的暹罗王国,其中记录了关于当时泰国人的洗澡习惯。


“ชาวสยามนุ่งห่มน้อย และอบรำร่างกายด้วยสุคนธรส หรือเครื่องหอม อาบน้ำวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง ถือเป็นความสุภาพเรียบร้อยว่า จะไปเยี่ยมผู้ใดในรายที่สำคัญ ต้องอาบน้ำเสียก่อน และจะประแป้งให้ขาวพร้อมที่ยอดอก แสดงว่าได้อาบน้ำมาแล้ว”
“暹罗人穿得很凉爽,会使用香料洗澡,而且每天要洗3-4次。洗澡是暹罗人十分重视的礼貌礼仪。去拜访重要的人物之前一定要洗澡,并在胸部以上抹上白色的粉末,表示已经洗过澡了。

“วิธีอาบน้ำสองอย่าง วิธีหนึ่งลงไปแช่น้ำ อีกวิธีหนึ่งใช้ขันตักน้ำรดร่างกาย”
“两种洗澡方式:一是身体全部泡在水中;二是舀水淋在身体上。”

 


คนไทย อาบน้ำอาบท่า มาแต่ไหนแต่ไร
泰国人民“码头洗澡”一词是怎么来的

ในอดีต ชาวบ้านทั่วไปอาบน้ำเพื่อคลายความร้อนและชำระล้างเนื้อตัวให้สะอาด โดยจะลงอาบน้ำในลำคลอง แหล่งน้ำใกล้บ้าน หรือท่าน้ำทั้งที่เป็นแบบท่าน้ำส่วนตัวของบ้านและท่าน้ำสาธารณะ เป็นที่มาของคำไทยที่ว่า “อาบน้ำอาบท่า” นั่นเอง
过去,人们洗澡通常是为了降温和清洁身体,他们会在河里、家附近的水源、自家的码头或公共码头洗澡,这就是泰语“码头洗澡”的起源。


สังคมไทยในอดีตที่นิยมสร้างบ้านริมแม่น้ำ มักสร้างท่าน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการอาบน้ำ ดังปรากฏในสำนวนที่ว่า อาบน้ำอาบท่า ซึ่งติดปากคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นิยมอาบน้ำในห้องน้ำแล้วก็ตาม
古代泰国流行在河边建造房屋,就如俗语“码头洗澡”中所说的,他们通常会建一个小码头用于日常生活,包括洗澡,现在泰国人民仍经常说这个词。但现在大多数人都喜欢在浴室里洗澡了。


ในวัฒนธรรมการอาบน้ำของคนไทย มิใช่เพียงแต่การนุ่งกระโจมอก หรือผ้าขาวม้า ลงไปตักน้ำอาบที่ท่าเท่านั้น ยังมีภูมิปัญญาในเรื่องการทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงการบำรุงประทินผิว เห็นได้จากวรรณคดีไทยหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะ ขุนช้างขุนแผน และ อิเหนา ซึ่งสะท้อนธรรมเนียมรูปแบบการอาบน้ำแบบไทยๆ ทั้งของชนชั้นสูง และของชาวบ้าน ว่ามีวิธีการชำระล้างร่างกายให้สะอาด การบำรุงผิวพรรณด้วยสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ และมีขั้นตอนที่พิถีพิถัน
泰国人的洗澡文化,不只是穿着高至胸部的筒裙或水布下河打水,然后在码头洗澡。在清洁身体护肤方面他们也有独特的智慧。很多泰国文学作品,尤其是《Khun Chang Khun Phaen》和《伊瑙》,都体现了泰国传统的沐浴方式。无论是贵族还是平民,都有清洁身体和草药护肤的方法以及细致的步骤。


โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำก็มักจะเป็นสมุนไพรพื้นบ้านหรือของพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ช่วยในการทำความสะอาด เช่น ดินสอพอง ใยบวบ ไพล มะกรูด ลูกประคำดีควาย
古代泰国人民洗澡的工具通常是当地可作清洁用的草药或其他物品,如白垩、丝瓜络、卡萨蒙纳姜、苦橙、无患子等。



แม้ว่าในสมัยโบราณ จะไม่มีสบู่ หรือแชมพู ที่เป็นสารเคมีสำหรับทำความสะอาดร่ายกาย และเส้นผม แต่คนไทยในอดีต ก็รู้จักใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การใช้ขมิ้น และมะขามเปียก ในการอาบน้ำ โดยคั้นน้ำจากขมิ้นมาชโลมตัว ขัดทำความสะอาดร่างกายแล้วจึงล้างออก จากนั้น ใช้มะขามเปียกที่ขยำผสมกับน้ำ โดยนำกากมาใช้เป็นใยสำหรับขัดผิว เสร็จแล้วให้ล้างน้ำออก เป็นการบำรุงผิวพรรณให้งามผ่อง
虽然在古代没有肥皂或洗发水等用来洗澡洗头的化学产品,但古代泰国人已经知道使用具有适当特性的草药来清洁身体。例如,在沐浴时使用姜黄和罗望子,先用姜黄汁擦拭身体后冲洗干净,然后用罗望子加水揉成渣,擦洗皮肤,擦完后再用水冲洗,这样就能保持皮肤光滑细腻。

ในการสระผมนั้น คนไทยแต่ละภูมิภาค ต่างมีภูมิปัญญาเลือกใช้สมุนไพรท้องถิ่นมาทำความสะอาดเส้นผม ในภาคกลาง นิยมใช้มะกรูดนำมาหมกขี้เถ้าจากเตาไฟ จนผิวเป็นสีเหลืองเพื่อลดความเป็นกรด แล้วจึงคั้นนำน้ำมาสระผม
关于洗头,各个地区的泰国人民都有自己的智慧,他们会使用当地的草药来清洁头发。在中部地区,人们把苦橙放进炉灰里,表皮变黄后它的酸度就会降低,然后挤出汁水用来洗头发。


สมุนไพรที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ปะคำดีควาย โดยนำเมล็ดมาโขลก แล้วใช้สระผม ซึ่งเมื่อเมล็ดปะคำดีควายถูกน้ำแล้ว จะมีความลื่น จึงช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากเส้นผมได้ง่าย นอกจากนี้ ทางภาคเหนือนิยมใช้ใบกับฝักของส้มป่อย ส่วนทางภาคอีสานนิยมใช้ใบอ้ม ซึ่งมีสรรพคุณในการทำความสะอาดเส้นผมเช่นกัน
另一种流行的草药是无患子,捣碎后可以用来洗头,无患子果实遇水会产生泡沫,可以轻松洗掉头发上的脏东西。此外,北部地区会使用藤金合欢的叶子和荚。在泰国东北地区,常用金粟兰叶,它也有清洁头发的功效。

การอาบน้ำของชนชั้นสูงในสังคมไทย ไม่นิยมลงไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ แต่ให้บ่าวไพร่ไปตักน้ำขึ้นมาใส่ภาชนะ แล้วอาบน้ำที่ชานเรือน เรื่องวิธี และขั้นตอนการชำระล้างร่างกาย และการบำรุงผิวพรรณ จะมีความพิถีพิถันมากกว่าสามัญชน
泰国社会地位较高的人一般不会在河里洗澡,他们会让仆人去打水,放在一个容器里,然后在露台上洗澡。洗澡、护肤的方法和程序会比普通人更细致。



หากได้อ่านบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ของรัชกาลที่ 2 จะเห็นธรรมเนียมการอาบน้ำของเจ้านาย ที่ใช้เวลาสรงน้ำนาน โดยเฉพาะการประทินโฉม และผิว ด้วยเครื่องสำอาง หรือเครื่องหอมต่างๆ หลากหลายขนาน เครื่องน้ำหอมประเภทต่างๆ นี้เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของกลุ่มชนชั้นสูงมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อาทิ น้ำกุหลาบ น้ำอบฝรั่ง (Eau de Cologne) เป็นต้น
如果大家有看过拉玛二世的著作《伊瑙》,就可以看到皇家的沐浴传统。他们洗澡需要很长的时间,尤其是面部和皮肤护理,要用到各种各样的化妆品或香水。这些不同类型的香水都是从外国进口的产品。从大城时期开始就为贵族所使用,如玫瑰香水、西方香水(Eau de Cologne)等。

ในสมัยรัชกาลที่ 5 น้ำอบฝรั่ง ถือเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ของเจ้านาย ซึ่งนิยมใช้น้ำอบฝรั่งเป็นส่วนประกอบในการชำระล้างร่างกาย หลังจากอาบน้ำแล้วก็ยังต้องใช้น้ำอบฝรั่งปะพรมร่างกายอีกด้วย
在拉玛五世国王统治时期,西方香水是皇室日常生活中不可缺少的物品,通常会在洗澡时加入,洗完后,还要在身上喷一次。



นอกจากนี้ ในวัฒนธรรมไทยยังมีการอาบน้ำที่เป็นธรรมเนียมเฉพาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความเชื่อ ได้แก่ประเภทแรก การอาบน้ำว่าน คือการอาบน้ำพระพุทธมนต์ ที่ผสมด้วยพืชหรือว่านมงคลชนิดต่างๆ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อว่า เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถสะเดาะเคราะห์ หรือสร้างสิริมงคลกับตนเอง การอาบน้ำว่านต้องทำพิธีในวัดโดยมีพระเป็นผู้ประกอบพิธี
此外,在泰国文化中还有特殊的传统沐浴仪式,与信仰有关。第一类是药浴,用圣水混合各种带来吉祥的植物或草药。泰国人相信这个水是神圣的水,能够为自己消灾祈福。这个仪式必须在寺庙进行,并由僧人主持。



ประเภทต่อมา การอาบน้ำเพ็ญ คือการอาบน้ำในช่วงเที่ยงคืนของวันเพ็ญเดือน 12 โดยนำน้ำพระพุทธมนต์ที่ได้จากวัด มาเจือมาผสมกับน้ำปกติมาอาบที่ท่าน้ำ เพื่อให้ร่างกายอาบแสงจันทร์ไปด้วย เป็นการอาบน้ำเพื่อเสริมสิริมงคลเช่นกัน
另一类是满月浴。十二月的月圆之夜,从庙里取来圣水与普通水混合,在屋外的小码头上洗澡,同时让身体沐浴月光,这也是一个为了祈求好运的沐浴仪式。


古人的洗澡智慧是不是令人折服?也许古代泰国人的皮肤比我们更好的吧,毕竟他们的护肤品都是天然的~

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自thaistudies,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。