全世界各个文化都会把两性进行各种各样的比喻,比如我们说女人是水,就是看到了女性柔美的一面,那你知道泰国人把女性比作什么吗?相信很多人都想不到,泰国人竟然会把女性比作锅!快来看看他们是怎么获得这个新奇的角度的吧!

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ในศัพท์สแลงอย่าง “ตีหม้อ” ที่หมายถึง ผู้ชายไปซื้อบริการทางเพศผู้หญิง/ไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง และ “หน้าหม้อ” ที่หมายถึง ผู้ชายเจ้าชู้ เหตุใดคำว่า “หม้อ” จึงถูกนำมาเปรียบเป็นสัญลักษณ์ว่าหมายถึงผู้หญิง
有没有疑 惑过,为什么男性嫖娼或与女性发生关系叫做“打锅”(泰语ตีหม้อ:ตี /dii1/ ‘打’;หม้อ /mɔɔ3/ ‘锅’),花心的男性要叫做“锅脸”(泰语หน้าหม้อ:หน้า /naa3/ ‘脸’,‘前’;หม้อ /mɔɔ3/ ‘锅’)。为什么锅会用来比作女性呢?

หม้อเป็นภาชนะที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกอารยธรรมทั่วโลก ในพื้นที่ประเทศไทยก็ปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุประเภทหม้อจำนวนมาก โดยหน้าที่ของหม้อนับแต่อดีตสืบถึงทุกวันนี้คือ การหุงต้มหรือใส่สิ่งของ ดังนั้น หม้อจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้หม้ออยู่คู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์คือ เป็นภาชนะที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยสี่ในด้านอาหารการกิน เป็นภาชนะที่ขาดเสียไม่ได้ในการประกอบอาหาร
锅是和全世 界每个文明的人类生活都息息相关的一种容器,在泰国也曾发现数量众多的考古遗迹,从古至今锅的功能都是烹饪或用来装东西,因此,锅从古代到现代都是人们生活的一部分。现在,锅和现代人生活息息相关的原因一部分是因为它与人们的饮食相关,是烹饪不可或缺的容器。

ในบทความ “หม้อ ในมิติทางวัฒนธรรมไทย : การศึกษาจากวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์” เขียนโดย ปฐมพงษ์ สุขเล็ก (วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) ศึกษาเรื่องราวของหม้อที่สะท้อนวัฒนธรรมไทยในมิติต่าง ๆ ผ่านวรรณคดีสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำนวน 10 เรื่อง ชี้ให้เห็นหลากหลายเรื่องราวของหม้อได้อย่างน่าสนใจ
在Pathomphong Suklek题为《泰国文化中的锅: 从曼谷王朝文学作品中研究》(艺术大学文学杂志,2018年7-12月)文章中通过曼谷王朝10部文学作品研究了泰国文化中的锅,指出了和锅相关的很多有意思的事情。

ในประเด็นการนำหม้อมาเปรียบเป็นสัญลักษณ์ว่าหมายถึงผู้หญิงนั้น ปฐมพงษ์ สุขเล็ก กล่าวว่า “เมื่อคนสมัยก่อนเห็นว่าหม้อและฝาละมี (ที่ปิดหม้อดินเผารูปร่างคล้ายฝาชี มีปุ่มสําหรับจับอยู่ด้านบน) เป็นสิ่งที่คู่กันพบเห็นได้อย่างทั่วไปในบ้านเรือน สิ่งของทั้งสองอย่างนี้จึงถูกนํามาเปรียบเป็นหญิงและชายซึ่งเป็นคู่กัน การกล่าวถึงหม้อและฝาละมีที่มีนัยความเปรียบระหว่างผู้ชายและผู้หญิง”
把锅比 作女性,在Pathomphong Suklek提到:“锅和锅盖(样子像餐罩的用来盖砂锅的盖子,上面有抓的地方)在家中经常一起出现,这两样东西经常被比作是成对的男人和女人。”

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก อธิบายว่า “การใช้หม้อเป็นนัยแทนผู้หญิงอาจพิจารณาจากด้านรูปทรงของหม้อที่คล้ายกับสะโพกหรือบริเวณลำตัวผู้หญิงที่มีความคอดและผายออกเป็นกลมมน หรือลักษณะของหม้อที่อูมอวบอาจเป็นลักษณะแทนเครื่องเพศของสตรีในทัศนะของกวี และอาจพิจารณาด้านประโยชน์ใช้สอยของหม้อที่เป็นภาชนะสำหรับรองรับการใส่สิ่งต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพทางสังคมของเพศหญิงสมัยนั้นที่มีสถานภาพรองรับอำนาจจากเพศชาย
Pathomphong Suklek解释道:“用锅来比作女性可能是因为锅的形状很像女性的臀部或者是躯干部,凹凸有致,或者是代表了文学家们眼中女性丰腴的身体特征,以及锅作为承接各种东西的容器来说,也和女性在社会中承接男性权力的特点很相似。

การที่หม้อได้รับการเปรียบเทียบให้เป็นฝ่ายหญิง สื่อให้เห็นถึงผู้หญิงต้องเป็นผู้รองรับอำนาจจากผู้ชาย สอดคล้องกับการแทนฝ่ายชายด้วยฝาละมีที่ทำหน้าที่ปิดหม้อ อยู่ในตำแหน่งที่อยู่สูงกว่าหม้อ ทัศนะเรื่องผู้หญิงที่ต้องรองรับอำนาจจากผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับแนวคิดที่ให้อำนาจความเป็นใหญ่แก่ฝ่ายชายส่งผลให้ฝ่ายหญิงมีสถานภาพเป็นรอง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในเวลานั้น”
之所以锅 被用来比作女性,展示了女性承接男性的权力,用锅盖比作男性来盖住锅,地位位于锅之上,女性承接男性权力的看法也表明了男性的权力凌驾于女性之上,展示了当时泰国社会的状况。”

จากศึกษาสถานภาพสตรีในวรรณกรรมช่วงต้นรัตนโกสินทร์ของ บุญยงค์ เกศเทศ อธิบายว่า “กฎเกณฑ์ของสังคมกีดกันหญิง ไม่เปิดโอกาสให้หญิงมีบทบาทอย่างเต็มที่ ตรงข้ามกับชายที่สังคมเปิดช่องทางให้กระทำได้ทุกกรณี สถานภาพของสตรีในด้านสังคมจึงด้อยกว่าชาย” สอดคล้องกับการศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนของ วรนันท์ อักษรพงศ์ อธิบายว่า “สภาพสังคมไม่เปิดโอกาสให้หญิงที่มีความรู้ได้แสดงความสามารถมากนัก”
Boonyong Ketthet通过对于曼谷王朝初期文学作品的研究发现:“社会规则压榨女性,不给女性展示社会作用的机会,相反男性的机会很多,所以女性的社会地位低于男性。”这也和Woranan Aksawnphong通过《坤昌坤平》研究曼谷王朝社会文化的发现一致:“和男性相比,女性在社会上学习知识和展示能力的机会更少。”

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก สรุปว่า “การใช้หม้อและฝาละมีเป็นนัยเปรียบเทียบหญิงและชาย จึงแสดงให้เห็นถึงไหวพริบของกวีที่นำหม้อและฝาละมีมาถ่ายทอดความคิดอย่างมีวรรณศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงทัศนะและสภาพสังคมในอดีตที่มีความเชื่อมโยงกับหม้อที่ใช้หุงหาอาหารในชีวิตประจำวัน”
Pathomphong Suklek总结到:“将锅和锅盖比作女性和男性,展示了诗人实用的文学创作的方法,展示了过去人的看法和社会状况,与锅在日常生活中烹饪食物的特点联系了起来。”

สรุปแล้ว เหตุที่หม้อถูกนำมาเปรียบเป็นสัญลักษณ์ว่าหมายถึงผู้หญิง เนื่องจากหม้อและฝาละมีซึ่งเป็นของคู่กัน เปรียบได้กับวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ผู้ชายต้องอยู่เคียงคู่กับผู้หญิง คำนี้คงใช้กันเรื่อยมา กระทั่งในยุคหลังได้นำไปใช้จนกลายเป็นศัพท์สแลงอย่างคำว่า “ตีหม้อ” และ “หน้าหม้อ” นั่นเอง
总之,用锅来指代女性,因为锅和锅盖经常一同出现,可以和作为男人伴侣的女人来比较,这个词可能一直在使用,所以后面就出现了像ตีหม้อ和หน้าหม้อ这样的俚语。

 

大家认为泰国文化里把女性比作锅这种物品合适吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。