如果你去过云南的话,一定听过古代一个叫南诏的地方,它是存在于大约8世纪到10世纪的一个古国,也曾经非常繁荣。很多泰国学者一度认为南诏是当时泰民族建立的,但事实真的是这样的吗?南诏和泰民族有着怎样的关系呢?今天的文章能够让你对南诏这个古国有更多的了解。

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 แล้วที่ชาวจีนได้เข้ามาครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ณ ที่นั้น ชาวจีนได้พบกับความหลากหลายของบรรดาผู้คนที่จีนเรียกว่า “คนป่าคนเถื่อน” (หม่าน Man) ที่บางพวกก็ยอมรับอารยธรรมจีน ตระกูลผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งนามว่า จ้วน (Zuan) มีศูนย์กลางอยู่ในอาณาบริเวณทางทิศใต้ของเมืองคุนหมิง ต่อไปจนจรดชายแดนเวียดนามปัจจุบัน ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ในตอนศตวรรษที่ 2 ตระกูลนี้ได้กลายเป็นเจ้าปกครองมณฑล นี่คือดินแดนที่มีชนเผ่าไทและแม้ว/เย้าอาศัยอยู่
公元2世纪后,中国人占领了现在云南 省的位置,在那个地方,中国人发现了被中国人称为“蛮夷”的很多民族,某些民族受到了中华文化的影响,其中一支叫Zuan的民族统治中心在昆明南部,一直延续到现在越南的边境线,后来在汉朝时瓦解。公元2世纪的时候这个民族统治着自己的王国,这就是傣泰民族和苗瑶民族生活的地方。

ส่วนด้านทางตะวันตกกับตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลนี้ ก็มีผู้คนที่ครอบครองอยู่แล้ว และจีนเรียกว่า หวู-หม่าน (Wu-man) หรือ “คนป่า-คนเถื่อนดำ” พวกนี้พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า คล้ายกับพวก “โลโล่” หรือ “ละหุ” ที่ก็ยังอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ พวกหวู-หม่านแห่งยูนนานตะวันตกนี่แหละที่ในศตวรรษที่ 7 ได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐน่านเจ้า
在这个王国的西边和西南边,也有人统治着,中国人叫做乌蛮,这些人说着藏缅语族的语言,和也在这一带的罗罗语或拉祜语很接近,在云南西部的乌蛮在7世纪成为了南诏国的 中心。

ภายในศตวรรษที่ 7 ชาวจีนก็ได้เข้ามาครอบครองยูนนานได้ถึงครึ่งหนึ่ง การปกครองของจีนขยายไปทางตะวันตกจนจรดแม่น้ำโขง จีนพยายามรักษาความมั่นคงทางชายแดน ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นในท้องถิ่น พันธมิตรหนึ่งดังกล่าวก็คือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หนึ่งในหกของเจ้าแว่นแคว้นเล็ก ๆ รอบทะเลสาบต้าลี่ในยูนนานตะวันตก
在7世纪,汉族已经统治了一半的云 南,统治范围从西边一直延伸到湄公河流域,汉族通过团结当地的势力来维护边境的稳定,其中的一个势力就是云南西边大理湖边的六诏之一的皮罗阁。

พระเจ้าพีล่อโก๊ะถือว่ารัฐเล็กรัฐน้อย 6 รัฐนี้ อยู่ภายใต้การปกครองของตนตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 730 และเมื่อปี 738 ก็ได้รับการรับรองจากราชสำนักจีนให้เป็น “เจ้าแห่งยูนนาน” ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับ “เจ้าทางใต้ (น่านเจ้า)” ดำเนินไปฉันมิตรจนกระทั่งประมาณปี 740 แต่ก็กลับเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในทศวรรษต่อมา ภายใต้ลูกชายของพีล่อโก๊ะเอง คือ โก๊ะล่อฝง ระหว่างปี 752 ถึงปี 754 จีนส่งทัพไปโจมตีน่านเจ้าถึง 4 ทัพ แต่ทุกครั้งก็ถูกกองกำลังของโก๊ะล่อฝงตีแตกกลับมา และน่านเจ้าก็ขยายการปกครองของตนเหนือยูนนานตะวันออกกับกุ้ยโจวตะวันตก และเมื่อจีนยุ่งอยู่กับการกบฏ แรงกดดันต่อน่านเจ้าก็ลดถอยลง และการสถาปนาจักรวรรดิใหม่นี้ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ก็สร้างขึ้นด้วยการตั้งเมืองหลวงที่สองที่เมืองคุนหมิงในปี 764
皮罗阁从大约公元730年起将六诏视为自己的管辖范围,公元738年,皮罗阁被唐王朝封为“云南王,唐王朝政府和南诏政府的友谊维持到了大约公元740年,然而在接下来的年代,皮罗阁的儿子阁罗凤的统治期间,双边关系于迅速恶化。公元752到754年,唐廷四次派兵进攻南召,但每次阁罗凤都能成功将其击退,南诏也将统治范围拓展到云南东边和贵州西部,当唐廷急于处理地方起义的时候,南诏的压力就有所减小,公元764年在昆明筑起了第二座都城,因此建立了在西南部的新王国。

จดหมายเหตุร่วมสมัยที่ครอบคลุมเรื่องน่านเจ้าได้ดีที่สุดคือ “หม่านชู” (Man Shu) ที่เขียนขึ้นโดยข้าสำนักจีนเมื่อประมาณปี 860 เอกสารนี้ชี้ให้เห็นถึงรัฐกึ่งทหารที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอย่างดี ปกครองอยู่เหนือหลายชนเผ่าชาติพันธุ์ ในแง่การบริหารนั้น แบ่งเป็น 6 “คณะกรรมการ” หรือกรม ต่างรับผิดชอบการสงคราม การประชากรและรายได้ การรับรองแขกต่างประเทศ การลงโทษทัณฑ์ การแรงงาน และการระดมพล เหนืออำนาจและสถานะของคณะกรรมการชุดนี้ก็จะมี “อัครเสนา 12” ซึ่งแต่ละวัน ๆ ต้องเข้าเฝ้า “น่านเจ้า” เพื่อพิจารณาข้อราชการ และยังมี “ข้าราชการบริสุทธิ์ยุติธรรม” ทั้งหกที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นองคมนตรีของเจ้าอีกด้วย
对南诏国记录最为详尽的是唐朝在公元860年的《蛮书》上,它指明了南诏很好地建立了半军事化的政府,统治了多个民族,在管理方面,分为了6个委员会或6部 ,分别负责战事、人口和收入、外交、刑罚、劳动力、兵力,在这些委员会之上还有12位大臣,每天都要觐见南诏,商讨国事,还有6位相当于国王智囊团的大臣。

การปกครองนี้ รวมถึงลำดับขั้นของเจ้าหน้าที่ จากระดับหัวหน้าที่ดูแลหนึ่งร้อยครัวเรือน ไปจนถึงเจ้าเมืองที่ควบคุมครัวเรือนถึงหนึ่งหมื่น หัวหน้าครอบครัวที่เป็นชายจะต้องชำระภาษีเป็นปริมาณข้าว 18 ลิตร รวมทั้งยังอาจต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นไพร่พลทหาร กองทัพดึงดูดเด็กหนุ่มให้มาร่วมฝึกฝนเมื่อว่างจากงานการเกษตร กองทัพน่านเจ้ามีประสิทธิภาพ มีพลัง มีวินัยดี และมีผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการสู้รบ
这样的统治体系中涵盖了多个等级,从负责管理百户平民一直到管理万户平民的官员,男性家庭核心必须要交18升大米税,还需要服徭役兵役,农闲时节男性青年就吸收了大量兵力 ,南诏的军队非常高效,战斗力强,有纪律,在作战中成果突出。

น่านเจ้าเป็นมหาอำนาจใหญ่ในกิจการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนเหนือและทางเอเชียตะวันออกทางตอนใต้เป็นเวลาหลายศตวรรษ กองทัพน่านเจ้าสร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรพยูในพม่าภาคกลาง จู่โจมดินแดนที่ในปัจจุบันคือพม่าตอนใต้กับไทยตอนเหนือ น่านเจ้ายังส่งกองทัพไปโจมตีเขมรเจนละ และมีบันทึกกล่าวไว้ว่า “ไปไกลถึงชายฝั่งทะเล” ทั้งยังส่งกองทัพไปตีอันนัม (เวียดนามเหนือ) ดินแดนในอารักขาของจีน ต่อจากนั้นอำนาจของน่านเจ้าก็ค่อยลดลง จีนกลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ เวียดนามเป็นอิสระ (ปี 939) และพัฒนาการใหม่ก็เริ่มก่อรูปขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ
南诏国成为了东南亚的北部和东亚南部长达数个世纪的强大力量,并在缅甸的中部对缅甸造成了很大的压力,攻打现今的缅甸南部和泰国北部。南诏还曾出兵攻打高棉真腊,有记载道:“远征到海边”。另外还曾出兵攻打当时唐王朝的安南(越南北部)。后来南诏的势力就逐渐衰弱,唐王朝兴盛,越南在公元939年独立,获得新发 展,在东南亚北部开始立足。

ความสำคัญของน่านเจ้าต่อประวัติศาสตร์ของคนเผ่าไท ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครคือเจ้าผู้ปกครอง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคนเผ่าไท เจ้าของน่านเจ้าสืบสายกันทางบิดา มีระบบของการตั้งชื่อพยางค์แรกของชื่อเจ้าแต่ละคน คือ พยางค์เดียวกันกับพยางค์สุดท้ายของนามบิดา ดังนั้น ก็จะเป็นเช่นนี้ คือ พี-ล่อ-โก๊ะ, โก๊ะ-ล่อ-ฝง, ฝง-เจี่ย-อี้, อี้-มู่-ซุ่น (Pi-lo-ko, Ko-lo-feng, Feng-chia-i, I-mou-hsun) ฯลฯ นี่เป็นแบบแผนที่พบทั่วไปในหมู่ของชนเผ่าโลโล่กับกลุ่มทิเบต-พม่า แต่ไม่เป็นที่รู้จักกันในชนเผ่าไท
南诏对泰民族历史影响并不在于谁是统治者,因为他们并不是泰民族的,南诏的国王沿袭父系,用首尾相接的方式为国王命名,自己名字的第一个字是父亲姓名的最后一个字,因此就会有皮罗阁、阁罗 凤、凤伽异、异牟寻等等的名字,这是罗罗语族和其他藏缅语族常见的取名方式,但却不是泰民族熟知的方式。

นอกจากนี้บันทึกรายการของคำศัพท์น่านเจ้าที่กล่าวถึงไว้ในหนังสือหม่านชู ก็เทียบได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่กับภาษาไท และตำนานชนเผ่าไท หรือพงศาวดาร ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอาณาจักรน่านเจ้าหรือเจ้าตนใดเลย ในขณะที่ในศตวรรษที่ 19 นี้ บรรดาหัวหน้าเผ่าโลโล่ในยูนนานกลางกลับสืบบรรพชนของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้า ในทางกลับกัน ความสำคัญของน่านเจ้าน่าจะต้องพิจารณาต่อผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าไทที่อาศัยอยู่ในดินแดนทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกตามชายขอบของจักรวรรดินั้น
除此之外,在《蛮书》中还记载了很 多南诏的词汇,也是与罗罗语更接近,而不是壮傣语支的。泰民族的传说和编年史中也没有提到过南诏这个王国。当时在19世纪的时候,在云南中部的各个罗罗部落的首领开始寻根。而南诏的重要性可能就要把他们对生活在南诏南部和东部边境泰民族的影响考虑在内了。

แม้ว่าบรรดาเจ้าเผ่าไทที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของน่านเจ้าโดยตรง แต่ก็อาจถูกกดดันให้รวบรวมกำลังพลเพื่อป้องกันตนเอง และน่านเจ้าหาใช่รัฐแรกที่รุกเข้ามาในโลกของเผ่าไทไม่ และก็ไม่ใช่รัฐสุดท้ายอย่างแน่นอน แต่นานเจ้าก็เป็นระบอบสำคัญแรกที่เข้ามาพัวพันกับที่สูงตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป กล่าวคือ ในดินแดนที่ปัจจุบันคือ รัฐฉานของพม่า ไทยภาคเหนือ และลาว ตลอดจนเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อจากยุครุ่งเรืองของน่านเจ้า ในศตวรรษที่ 8 และ 9 แรงกดดันกลับจะมาจากทางทิศใต้ จากจักรวรรดิใหญ่โตที่ต่างออกไป
虽然泰民族的部落不直接在南诏的统治之下,但是也被迫汇集力量来保护自身,而南诏也并不是第一个侵扰泰民族部落的王国,也肯定不是最后一个,但是南诏是第一个在东南亚高地产生联系的重要的政治实体,也就是现在的缅甸掸邦、泰国北部和老挝,一直到越南的西北部。无论如何,在南诏繁荣的世纪之后,8-9世纪来自 南部各个王国的压力与日俱增。

หลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือตกทอดมา ไม่ได้กล่าวถึงอะไรที่จะทำให้คิดว่า นี่คือรัฐของชนเผ่าไทในดินแดนที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในศตวรรษที่ 9 และที่ 10 แต่หลักฐานก็กล่าวถึงบรรดารัฐเกือบทั้งหมดที่อยู่ข้างเคียงทางใต้ และเป็นปฏิปักษ์กับเผ่าไทในศตวรรษต่อ ๆ มา ทั้งยังมีความสำคัญยิ่งยวดในการสร้างอารยธรรมของชนเผ่าไท จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จะรวมถึงหน่วยของเวียดนามในหุบเขาลุ่มแม่น้ำแดง และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนามเหนือ รวมทั้งอาณาจักรจามปาทางฝั่งทะเลตอนกลางของเวียดนาม จักรวรรดิเขมรที่อังกอร์ (พระนครหลวง-ยโศธรปุระ) รวมทั้งบรรดาอาณาจักรในไทยภาคกลางกับภาคเหนือ อาณาจักรมอญกับพยูในพม่า โดยรวมแล้วบรรดาอาณาจักรเหล่านี้หันหน้าออกทะเล สร้างเป็นวงแหวนล้อมรอบชนเผ่าไทไว้ในดินแดนที่สูง
关于南诏遗留下来的记录没有任何指向南诏是东南亚高地上在9-10世纪的一个泰民族部落,但是史料记载了后来的几乎全部在南部和泰民族部落敌对的势力,从东到西,均对泰民族文明的建立有重要的影响,包括越南红河谷、越南北部三角洲,还有越南中部海岸边的占婆王国、吴哥王朝和泰国中部北部的王国、孟族王国 、缅甸的骠族王国,总体来说,这些王国占领了出海口,将泰民族的部落围绕在高地上。

นับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านี้ก็เข้มแข็งขึ้น ทั้งยังแผ่ขยายดินแดนออกไป และชนเผ่าไทก็จะเข้าไปพัวพันในชีวิตและการเมืองของอาณาจักรเหล่านั้น
从9世纪开始,这些王国更加强盛,开始扩展势力范围,泰民族部落也开始和这些王国发生在生活上和政治上的联系。

 

原来南诏并不是泰民族建立的,有感兴趣的小伙伴可以去阅读更多和南诏相关的资料哦!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。