期待夏天的小伙伴肯定很期待榴莲,吃上一口软软糯糯的榴莲,幸福指数绝对狂飙,身在泰国的小伙伴们更是太有口福了,还可以去很多地方享受榴莲自助,但是你知道吗?泰国人吃榴莲其实已经好几百年了哦!究竟有多少渊源呢?今天就带大家去看看!

(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ศิริวัช หวังสม

ความดีงามของฤดูร้อนอย่างหนึ่งก็คือ มีผลไม้หลายชนิดให้เลือกกิน ตั้งแต่มะม่วง, ทุเรียน, เงาะ, มังคุด, ลำใย ฯลฯ แต่ที่ถือว่า “แรง” ทั้งเรื่องราคา, กลิ่น คงต้องยกให้ “ทุเรียน”
夏天非常美好的一件事就是有各种各样的水果可供我们选择,比如芒果、榴莲、红毛丹、山竹、龙眼等等,但是价格、味道最烈的一种水果,可能非榴莲莫属了。

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่เป็นที่รู้จักและบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ในโลกตะวันตกนั้น ทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียงระยะเวลา 600 ปีที่ผ่านมา โดยครั้งแรกสุดชาวยุโรปรู้จักทุเรียนจากบันทึกของนิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ที่เดินทางท่องเที่ยวไปในภูมิภาคดังกล่าว ในช่วงระยะเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 15
在东南 亚,榴莲在历史上就是从古至今都是大家非常熟知并且大量食用的水果,但是在西方,榴莲在大约600年前才被发现,欧洲人第一次知道榴莲是从尼科洛·达·康提在15世纪东南亚的游记上发现的。

ในเมืองไทย คนไทยกินทุเรียนกันมานาน อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีบันทึกของ ลาลูแบร์ ราชทูตจากฝรั่งเศส เป็นหลักฐาน เขาเขียนถึงทุเรียนไว้ตอนหนึ่งว่า
在泰国,泰国人很久 之前就开始食用榴莲了,最晚也是从阿瑜陀耶时期开始了,法国使者拉鲁贝儿的记载证明了这一点,他有一段写到榴莲:

“ผล Durion ในภาษาสยามว่า ทุเรียน (Tourien) เป็นผลไม้ที่มีผู้ชอบบริโภคกันมากในชมพูทวีป แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทนไม่ไหวเพราะกลิ่นอันเลวร้ายของมัน ผลไม้ชนิดนี้มีขนาดเท่าๆ กับแตงไทยของเราหุ้มด้วยเปลือกมีหนามเหมือน ผลเซท์นัท (châtaigne) มีพูหลายพูเหมือนขนุน แต่ใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ เป็นเนื้อผลไม้ที่เขาใช้บริโภคกัน ข้างในมีเมล็ดอีกเมล็ดหนึ่ง ในทุเรียนผลหนึ่งยิ่งมีจํานวนพูน้อยลงเท่าใด ก็จะยิ่งมีรสชาติดีมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่มีน้อยกว่า 3 พูเลย”
“榴莲果,暹罗话叫做Tourien,在大印度地区广泛食用,但是我认为味道刺鼻难闻非常难以忍受,这种水果大小和甜瓜类似,外面包裹着像板栗外壳的尖刺,像木菠萝一样多棱,但是大小类似鸡蛋,食用果肉,果肉内部有核。榴莲棱越少,味道就越好,但是至少要有3个棱。”

ส่วนการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนในสมัยธนบุรีถึงรัตนโกสินทร์นั้น สารานุกรมฉบับเยาวชน บันทึกไว้ว่า
曼谷时期榴莲的普及在 青年百科全书中记录到:

“พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพฯ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 และมีการทำสวนทุเรียนในตำบลบางกร่าง ในคลองบางกอกน้อยตอนใน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2397 ในระยะต้น เป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด”
“Phraya Phaet Phongsawisutthathibodee提到了榴莲的普及传播,在大约1775年从洛坤府来到了曼谷,1854年在曼谷Bangkok Noi运河内侧开始有榴莲种植园,通过种子开始传 播榴莲,然后开始用植株培育,一共有三个品种,分别是E-bat、Thongsuk和Karagate。”

แต่ชาวสวนจำนวนหนึ่งก็พบปัญหาว่าไม่สามารถหากิ่งตอนจากพันธุ์ดีได้ จึงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2397 จนกระทั่งก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. 2485 รวมระยะเวลากว่า 80 ปี ทำให้เกิดทุเรียนพันธุ์ลูกผสมจำนวนมาก และมีการขยายพันธุ์ปลูกในที่ต่างๆ
但是一部分园农也 发现不能用植株培育榴莲的问题,所以在1854年至1942年间的80多年一直都用种子种植,出现了很多杂交品种的榴莲,种植榴莲也是遍地开花。

เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. 2485 ทุเรียนหลายสายพันธุ์ ในเขตจังหวัดนนทบุรี และธนบุรีสูญหาย เพราะสวนล่ม บางสวนที่รอดจากน้ำท่วมกลายเป็นแหล่งพันธุ์ แต่เนื่องจากการขยายพันธุ์ปลูก ทำได้ไม่รวดเร็วพอ เกษตรกรจึงต้องใช้เมล็ดเป็นพันธุ์ปลูก ทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมเพิ่มเติม
在1942年大洪灾之 后,很多在暖武里府和吞武里府的榴莲品种就因为被淹没而绝迹了,有些果园逃过水灾,于是成了榴莲的来源地,因为榴莲的培育时间很慢不够迅速,农民不得不用种子进行种植,这样能够增加榴莲的产量。

คาดว่า “ทุเรียน” คงเป็นผลที่ได้รับความนิยมมาก “วชิรญาณวิเศษ” จึงเตือนให้ระมัดระวัง “การเรอ” หลังจากกินทุเรียนไว้
榴莲应该非常受欢迎,所以古书 《Wachirayanwiset》中所以有提到在吃完榴莲要小心打嗝的问题:

“ประการหนึ่ง ควรที่ไทยผู้ดีจะรวังตนจงหนัก ในเวลาที่เข้าไปอยู่ในพวกผู้ดี ห้ามอย่าให้เรอส่งกลิ่นอาหารซึ่งได้บริโภค โดยถือว่าโอชารส แต่เป็นที่รังเกียจแก่ท่านผู้อื่น เช่นกระเทียมดองหรือทุเรียนเป็นต้นนั้นจงกวดขัน ถ้าเวลามีกิจจะเข้าไปในที่ประชุม ก็ควรจะงดเว้นเสียไม่บริโภค หรือชำระอย่าให้มีกลิ่นฟุ้งไปให้ปรากฎแก่มหาชนได้”
“有一点,需要让泰国人 格外注意,有身份的人吃东西的时候不能让自己食物的味道让他人厌恶,比如吃腌蒜或者榴莲等食物,如果有事情需要到人多的地方,也应该避免吃这些东西或者清洗干净不让这些东西的味道弥散。”

ถึงวันนี้ “ทุเรียน” ที่คนส่วนใหญ่กินและคุ้นเคยมักเป็น หมอนทอง, ชะนี และก้านยาว ทว่า เรายังมีทุเรียนรสดี, เนื้อละเอียด, กลิ่นหอมชวนกินอีกหลายชนิด แต่มีขายน้อยหรือไม่มีขายเลย เพราะไม่ค่อยรู้จักขายยาก, มีผลผลิตน้อยไม่พอส่งมาขายในตลาดขนาดใหญ่ ฯลฯ
到今天,大部分人  吃到的和熟悉的榴莲都是金枕榴莲、差尼榴莲和长柄榴莲,但实际上我们还有好多品种的榴莲也是肉质细腻味佳、非常诱人的,只是卖的很少或者没有卖的,因为大家都不熟悉很难卖,产量也不足以送到更大的市场。

 

过去的这个夏天你吃到榴莲了吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。